Disable copy

Wednesday 30 August 2017

[PDF][VIDEO]แนว ข้อสอบเตรียมทหาร ข้อสอบนายร้อย วิชาคณิตศาสตร์ ม.ต้น เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ พร้อม วิดีโอเฉลย ละเอียด

ข้อสอบเตรียมทหาร นักเรียนายร้อย นายร้อย วิชาคณิตศาสตร์ ม.ต้น เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์.pdf พร้อมวิดีโอ เฉลยละเอียด



ข้อสอบชุดนี้แยกชุดไว้ให้น้องฝึกฝน หัดทำได้ด้วยตัวเอง และสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกับที่พี่สอนได้ทาง YouTube นะครับ น้องๆสามารถดาวน์โหลดและนำไปปริ้น และมานั่ง ตามวิดีโอที่พีสอน ถ้าข้อไหนผิดพลาดประการใด ฝากแจ้งพี่ได้ทางคอมเมนต์ด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงให้ดียิง่ขึ้นครับ 




วิดีโอสอน ข้อสอบชุด เรขาคณิตวิเคราะห์ 1 ตามลิงก์ด้านล่างนะครับ


วิดีโอสอน ข้อสอบชุด เรขาคณิตวิเคราะห์ 2 ตามลิงก์ด้านล่างนะครับ



ถ้าน้องๆ ไม่อยากพลาดข่าวสารสำคัญ หรือแบบทดสอบ ข้อสอบชุดดีๆ ฝากกดติดตามพี่ได้ที่ช่องด้านขวามือนะ ทั้ง Facebook YouTube และก็ Line นะครับ

ถ้าชอบฝากกดแชร์ คอมเมนต์ ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ


ถ้าน้องๆ ไม่อยากพลาดข่าวสารสำคัญ หรือแบบทดสอบ ข้อสอบชุดดีๆ ฝากกดติดตามพี่ได้ที่ช่องด้านขวามือนะ ทั้ง Facebook YouTube และก็ Line นะครับ

ถ้าชอบฝากกดแชร์ คอมเมนต์เพื่อเป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ
ถ้าสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามเราได้ที่




Tuesday 29 August 2017

การใช้คำในภาษาไทย สำหรับสอบเข้าเตรียมทหาร โรงเรียนเหล่าทัพ นายเรือ นายร้อยตำรวจ นายเรืออากาศ

การใช้คำในภาษาไทย


ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้คำ

รู้จักใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับของการสื่อสาร
ฐานะของบุคคลที่สื่อสารกันรวมทั้งโอกาสและกาลเทศะในการสื่อสารเป็นสิ่งกำหนดให้ระดับของภาษาที่ใช้สื่อสารมีความลดหลั่นต่างๆกันไป ถ้าใช้คำผิดระดับอาจทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผลหรือถึงแก่ล้มเหลวก็ได้การจัดระดับของภาษาแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับคือ

1 ระดับพิธีการ 2 ระดับทางการ 3 ระดับกึ่งทางการ 4 ระดับสนทนา 5 ระดับกันเอง

ในการสื่อสารของคนเรานั้นฐานะของผู้สื่อสารโอกาสกาละเทศะในการสื่อสารอาจต่างกัน ผู้สื่อสารอาจมีฐานะที่เสมอกันสูงหรือต่ำกว่ากันเช่น สื่อสารในฐานะเพื่อนกับเพื่อน ครูกับลูกศิษย์ บุตรกับบิดามารดา ผู้ขายกับผู้ซื้อ โอกาสและกาละเทศะในการสื่อสารก็อาจต่างกันเช่น การสื่อสารในโอกาสลำลองก็ควรใช้ภาษาระดับสนทนาหรือกันเองการสื่อสารในระดับที่ประชุมควรใช้ภาษาระดับทางการ การสื่อสารในที่สาธารณะในงานพิธีควรใช้ภาษาระดับพิธีการหรือทางการ ฯลฯ
การใช้คำหยาบนั้นต้องระลึกไว้เสมอว่าเป็นคำที่ระคายหู ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีแก่ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง สำนวนที่หยาบและคำหยาบไม่ควรนำมาใช้ในที่สาธารณะและทางสื่อมวลชน เพราะภาษาเป็นเครื่องสะท้อนถึงจิตใจและความคิดซึ่งความคิดที่ดีงามจะสะท้อนเป็นภาษาที่งดงามและน่าฟัง
รู้จักใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน
คำที่มีความหมายคล้ายกันมีอยู่มากในภาษาไทยได้แก่ คำมูลคำซ้อนคำประสมและคำศัพท์ต่างๆ ที่ได้รับมาจากภาษาอื่นหรือการผูกคำขึ้นใช้โดยวิธีสมาสคำ
     1. ข้อมูล เช่น แกะ แคะ แงะ แทะ มีความหมายร่วมกันว่าทำให้เผยออกมา
     2.คำซ้อน เช่น อดทน,อดกลั้น

     - อดทน แปลว่าอดเอาทนเอามักใช้กับการกระทำเช่นเขาอดทนทำงานนั้นจนสำเร็จ
     - อดกลั้น แปลว่า สะกดใจไว้ได้มักใช้กับความรู้สึกต่างๆเช่นเขาอดกลั้นไว้อย่างเต็มที่ไม่แสดงความกดออกมา

     ขัดแย้ง,โต้แย้ง
     - ขัดแย้ง แปลว่าไม่ลงรอยกันซึ่งอาจจะเป็นการขัดแย้งทางความคิด คำพูดหรือการกระทำก็ได้ เช่นความคิดเห็นหรือฝ่ายหนึ่งพูดแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยจึงโต้แย้งขึ้นเช่นเขาลุกขึ้นโต้แย้งทันทีเมื่อประธานในที่ประชุมกล่าวจบ

     รบเร้า,รบกวน
     - รบเร้า แปลว่าวิงวอนอย่างเร่งร้อนมีความหมายไปในเชิงขอร้อง เช่นน้องรบเร้าคุณพ่อให้พาไปเชียงใหม่
     - รบกวน แปลว่า ทำให้เกิดความรำคาญทำให้เกิดความเดือดร้อน มักจะมีความหมายในทางที่ไม่ดีนักเช่น ความรู้สึกและร้ายๆรบกวนอารมณ์เขาให้หงุดหงิดมากขึ้นทุกที

     3. คำประสม เช่น

     ใจอ่อน,อ่อนใจ
     - ใจอ่อน แปลว่ายอมง่ายสงสารง่ายเช่นเธออย่าใจอ่อนกับลูกมากนักเลยเดี๋ยวจะเสียเด็ก
     - อ่อนใจ แปลว่า เหนื่อยใจจิตใจเพลียระอาเบื่อเช่นคุณยายอ่อนใจที่จะต้องดูแลหลานซนซนทั้งหมดถึง 5 คนตามลำพัง

     น้ำตา,ตาน้ำ
     - น้ำตา แปลว่าน้ำที่ไหลซึมออกจากนัยตาเช่นถึงเธอจะร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือดก็ไม่สามารถให้มันฟื้นคืนชีวิตกลับมาได้หรอก
     - ตาน้ำ แปลว่าทางน้ำใต้ดินที่มีน้ำไหลไม่ขาดสายเช่นขุดให้ลึกกว่านี้อีกสักนิดนึงเราอาจจะเจอตาน้ำได้

     4.คำศัพท์อื่นๆเช่น
     บุคลิกภาพ,บุคลากร ,บุคคล และ บุคลิกลักษณะ
     คำเหล่านี้มีความหมายร่วมกันว่าจำเพาะคนบุคคล
     - บุคลิกภาพ แปลว่าสภาพนิสัยจำเพาะของแต่ละคนเช่นนักเรียนควรสร้างบุคลิกภาพให้ดีเป็นที่น่านับถือแก่บุคคลทั่วไป
     - บุคลากร แปลว่าผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานเช่นบุคลากรของบริษัทนี้เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง
     - บุคคล แปลว่าคนสิ่งที่มีชีวิตซึ่งมิใช่สัตว์หรือพืชสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเขาเป็นบุคคลที่พวกเราไม่พึงประสงค์
     - บุคลิกลักษณะ- แปลว่าลักษณะจำเพาะตัวของแต่ละคนเช่นสุชาติมีบุคลิกลักษณะเป็นผู้นำที่ดีได้

     สมรรถนะ,สมรรถภาพ
     สมรรถนะ กับสมรรถภาพ หมายถึงความสามารถ
     - สมรรถนะ แปลว่าความสามารถของเครื่องยนต์กลไกหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเช่นเครื่องยนต์รุ่นนี้มีสมรรถนะในการขับเคลื่อนสูง
     - สมรรถภาพ แปลว่าความสามารถของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการทำงานต่างๆเช่นถึงเขาจะอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเขาก็ยังมีสมรรถภาพทางร่างกายดีกว่าคนอื่นในกลุ่ม

รู้จักใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ
ความรู้สึกที่ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 ทางนี้ปกติแล้วมีคำใช้มากมายในภาษาเช่น
     1.ทางตา มีคำที่บอกลักษณะของสีรูปร่างระยะทางความเข้มความแข็งแรงเช่นเหลืองสว่างมืดแข็งแรงกว้างขวางใหญ่โตสูงต่ำใกล้ไกล
     2. ทางหู มีคำที่บอกลักษณะของเสียงเช่นแหลมหวานทุ่มค่อยก้อง อู้อี้ แหบ ,ฯลฯ
     3. ทางจมูก มีคำที่บอกลักษณะของกลิ่นเช่นฉุนเหม็นหอมฟุ้งมหืนทคาว ฯลฯ
     4. ทางลิ้น มีคำที่บอกลักษณะของรถเช่นเปรี้ยวหวานมันเค็มเฝื่อนฝาด ฯลฯ
     5. ทางกาย มีคำที่บอกลักษณะของความรู้สึกสัมผัสเช่นเย็นร้อนอ่อนนุ่มละมุนแข็งตึง ฯลฯ
     6. ทางใจ มีคำที่บอกลักษณะของความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจเช่นกลัวกล้าคึกคักสนุกโลกโกรธเกลียดสงสารเศร้าซึมซึ้งสุขรื่นเริงแจ่มใส ฯลฯ

คำเหล่านี้เมื่อใช้ในประโยคจะช่วยเน้นความหมายให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เกิดจินตนาภาพหรือให้ความรู้สึกมากขึ้นเป็นพิเศษ แล้วถ้ารู้จักเลือกใช้คําวิเศษณ์มาประกอบให้เหมาะสม รวมทั้งใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบที่เหมาะสมก็จะเกิดความงามของภาษามากยิ่งขึ้นเช่น
     - ทุ่งหญ้าเขียวขจีทำให้พวกเรารู้สึกสดชื่นอย่างประหลาด
     - บ้านหลังนั้นใหญ่โตมโหฬารเกินกว่าที่ทุกคนจะเข้าถึง
     - กลิ่นกุหลาบอ่อนๆฟุ้งกระจายไปทั่วห้องบรรยากาศชวนให้รื่นรมย์
     - ผมอาจจะช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้บ้างเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่ลำบากอย่าเกรงใจมากมายไปเลย
     - ฉันเกลียดภาพนั้นจับใจมันดูน่าขยะแขยงโหดร้ายอย่างที่สุด
บุคคลจะรู้จักคำจนสามารถเลือกใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการอ่านมากฟังมากสังเกตคำที่ได้อ่านได้ฟัง นอกจากนี้ยังต้องใช้พจนานุกรมจนเป็นนิสัยเพื่อดูความหมายของคำ รู้จักสะสมถ้อยคำสังเกตวิธีใช้คำ และฝึกหัดเขียนคำให้สม่ำเสมอ การรู้จักคำนั้นเกิดจากการสะสมโดยต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน เมื่อเรารู้จักคำว่าพอเราก็สามารถนำคำเหล่านั้นมาใช้ในโอกาสต่างๆได้ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจคำที่เลือกใช้ได้ตรงความต้องการตรงตามความหมายและตรงตามความนิยม



[PDF]แนว ข้อสอบช่างฝีมือทหาร ครบทุกวิชาพร้อมเฉลย ดาวน์โหลดฟรี พ.ศ.2553

[PDF] แนว ข้อสอบช่างฝีมือทหาร พร้อมเฉลยครบทุกวิชา พร้อมเฉลย ปี 2553



สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองและสามารถดาวน์โหลด (Download)ไปใช้ศึกษาได้ฟรีครับ
***ขอร้อง อย่าโหลดไปเพื่อจำหน่าย หรือไปขายต่อนะครับ ขอให้แชร์ไปให้เพื่อนหรือไม่ก็ ดาวน์โหลดไปให้เพื่่ิอนดีกว่าครับ




เอกสารชุดนี้ผมมีความตั้งใจจัดทำด้วยมีความสวยงามสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ครับ รูปประกอบผมวาดเองทุกรูปผมขออย่านำไปใช้เพื่อการค้านะครับ


ถ้าเอกสารชุดนี้ไม่เหมาะสมหรือบกพร่องประการใดสามารถแจ้งผมได้ทาง comment หรือไม่ก็ email มาแจ้งผมด้วยนะครับ ถ้าไม่เหมาะสมต้องการให้ผมลบออกผมจะดำเนินการให้ครับ



ระเบียบการับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารภาคปกติ
1.กล่าวนำ
     โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นสถานศึกษาสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์ (สปอ.) เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้กองทัพไทย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2503 เป็นต้นมา ปัจจุบันโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2552 ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญในทักษะวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วินัย บุคลิกภาพ และเป็นผู้มีปัญญาสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของส่วนราชการ ต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และตลาดแรงงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และสังคม

2.การจัดการศึกษา
     2.1 โรงเรียนช่างฝีมือทหาร จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระยะเวลาศึกษา 3 ปีหลังจากจบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า ปัจจุบันเปิดทำการสอนตามหลักสูตร จำนวน 6 สาขาวิชาชีพ คือ
          2.1.1 วิชาชีพช่างซ่อมบ ารุงเครื่องจักรกล (รหัสตัวอักษร ชบ.)
          2.1.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล (รหัสตัวอักษร ชก.)
          2.1.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ (รหัสตัวอักษร ชล.)
          2.1.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ (รหัสตัวอักษร ชย.)
          2.1.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง (รหัสตัวอักษร ชฟ.)
          2.1.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (รหัสตัวอักษร ชอ.)
     2.2 การศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพ
          2.2.1 วิชาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านและเขียนแบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล แบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น งานบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในโรงงาน งานตรวจสอบและปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนเครื่องจักรกล งานติดตั้งเครื่องจักรกล ระบบปั๊มและท่อ ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบติดตั้งและทดสอบสมรรถนะของเครื่องจักรกล รวมทั้งสร้างชิ้นส่วนบางชนิดตามแบบที่กำหนด
          2.2.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานกลึงขึ้นรูป งานกลึงเกลียว งานกลึงโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ งานกลึงด้วยเครื่องกลึงอัตโนมัติงานกัด งานไส งานเจียระไน งานเจาะ งานคว้าน งานอบชุบ งานวัดละเอียด งานเครื่องมือกล ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล งานแม่แบบสำหรับงานผลิตต่าง ๆ ตามแบบที่กำหนด รวมทั้งงานวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่อง และการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรกล
          2.2.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ งานเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส งานตัดเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยแก๊ส งานเชื่อมประสาน งานเชื่อมโลหะต่าง ๆ ด้วยเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ งานเชื่อมทิก งานเชื่อมมิก งานเชื่อมพลาสติก งานโลหะแผ่น งานระบบท่อ ภายในอาคาร งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ งานเชื่อมท่อแรงดัน งานผลิตโครงสร้างเหล็ก งานประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะประเภทต่าง ๆงานตรวจสอบแนวเชื่อม งานทดสอบแนวเชื่อม งานบัดกรีแข็ง งานอบชุบโลหะ งานโครงสร้างอะลูมิเนียม รวมทั้งงานเชื่อมและตัดใต้น้ำ
          2.2.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล ระบบส่งกำลังรถยนต์ เครื่องล่างรถยนต์ ไฟฟ้ารถยนต์ ระบบปรับอากาศในรถยนต์ งานเครื่องยนต์เล็กจักรยานยนต์งานเคาะตัวถังและงานสีรถยนต์งานกู้ซ่อม การขับขี่ยานยนต์และการบำรุงรักษารถยนต์ทุกระบบตามคู่มือ
          2.2.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานพื้นฐานช่างไฟฟ้ากำลัง งานไฟฟ้าภายในอาคาร งานไฟฟ้าภายนอกอาคาร ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรไฟฟ้า งานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและสำนักงาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง งานซ่อมบำรุงรักษาและทดสอบมอเตอร์ไฟฟ้า งานควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจและซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ งานเครื่องท าความเย็นและปรับอากาศ
          2.2.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจซ่อม ปรับแต่ง ติดตั้งตลอดจนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ งานสื่อสารโทรคมนาคม งานระบบภาพ ระบบเสียงงานโทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์สี ขาว-ด า ระบบวีดีทัศน์ งานคอมพิวเตอร์ งานแบบติดตั้ง และทดสอบงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

๓. คุณสมบัตขิองผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     3.1 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่ํา 2.00
      3.2 เป็นชายอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 1 เมษายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา รับผู้เกิด ตั้งแต่ 1 เมษํายน 2541 ถึงวันที 31 มีนําคม 2544 สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนผู้ที่เป็นเข้าราชการกลาโหม พนักงานราชการ หรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2538) และจะต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดอนุญาตให้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร มาแสดง (การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร)
     3.3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
     3.4 มีสุขภาพสมบูรณ์ และไม่มีโรคขัดกับกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
     3.5 มีผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ซึ่งสามารถรับผิดชอบในพันธกรณีต่างๆ ตามแบบสัญญาที่ กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด
     3.6 ไม่เคยถูกปลดหรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือองค์การใด ๆ
     3.7 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
     3.8 ไม่เป็นผู้พ้นจากความเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2553

4. การสมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     4.1 สมัครทํางอินเทอร์เน็ต เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ไม่เกินเวลา 2400 น. ของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559)
ขั้นตอนกํารสมัครทํางอินเทอร์เน็ต
          4.1.1 เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com) เลือก “สมัครสอบ”
          4.1.2 อ่านคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละประเภทให้รอบคอบก่อนทำการสมัคร เนื่องจากเมื่อท่านสมัครแล้วจะสมัครซ้ำ หรือเปลี่ยนประเภทการสมัครอีกไม่ได้
          4.1.3 เลือกประเภทการสมัครซึ่งมี 3 ประเภทคือ
               4.1.3.1 สมัครภาคปกติค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.2 สมัครภาคสมทบ ค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.3 สมัครทั้งสองภาค ค่าสมัคร 800 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 830 บาท
          4.1.4 กรอกรายละเอียดในหน้าสมัครสอบให้ครบทุกช่อง
          4.1.5 กรณีที่ท่านมีสิทฺธิพิเศษตามกำหนดในระเบียบการ ให้ท่านเลือกประเภทสิทธิพิเศษแล้วส่งหลักฐาน (เอกสารสิทธิพิเศษฉบับจริง) ไปที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เมื่อทางโรงเรียนได้รับหลักฐานแล้วจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน
          4.1.6 พิมพ์ใบสมัครไปท าการชำระเงินค่าสมัคร (สามารถชำระเงินค่าสมัครได้ไม่เกินวันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559) ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
          4.1.7 ตรวจสอบสถานะการชำระเงินที่เว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com)
          4.1.8 เมื่อตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านเรียบร้อยแล้วให้พิมพ์บัตรสอบได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 5 มีนาคม 2559
          4.1.9 ติดรูปผู้สมัครที่บัตรสอบในจุดที่กำหนด โดยใช้รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 1 นิ้วครึ่ง (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) ในชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่ยิ้ม ไม่ใส่แว่นตา
          4.1.10 น่ําบัตรสอบ พร้อมบัตรประชาชนมาแสดงในวันสอบ (ผู้สมัครต้องมีหลักฐานทั้งสองอย่าง หากขาดอย่ํางใดอย่างหนึ่ง ท่ํานอาจถูกตัดสิทธิ์ในกํารสอบ)
     4.2 สมัครด้วยตนเอง (โรงเรียนช่างฝีมือทหารให้บริการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต ในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร) ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ    1.ข้อสอบที่ใช้ใช้ปัญหาสอบชุดเดียวกัน และสอบ วัน เวลา เดียวกัน ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 1300 น. – 16000 น. พร้อมกัน ทุกภาค
                    2. ระเบียบการไม่มีจำหน่าย ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหารwww.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ตั้งแต่ ธันวาคม 2558เป็นต้นไป
     4.3 กรณีลืม หรือทำบัตรสอบหายให้ผู้สมัครติดต่อ กองอำนวยการ ณ สถานที่สอบโดยนำรูปถ่ายตามข้อ 4.1.9 มาด้วยเพื่อขอทำบัตรใหม่
     4.4 หลักฐานขอรับสิทธิพิเศษ
          4.4.1 หนังสือรับรอง แสดงว่าสอบวิชาทหารได้ ตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ปี 1,2 และ 3 เพิ่มให้ร้อยละ 2,3 และ 4 ของคะแนนรวมภาควิชาการ ตามลำดับ (แบบหนังสือ ตํามผนวก ก)
          4.4.2 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำหน้าที่ ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.3 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญ หรือบำเหน็จพิเศษตามข้อบังคับ หรือระเบียบของทางราชการ หรือบุตรของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.4 การได้รับเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 4.4.2 และ 4.4.3 ให้คิดเฉพาะในกรณีที่ได้เพิ่มคะแนนมากแต่อย่างเดียว และถ้าเป็นผู้ที่สอบวิชาทหารได้ตามข้อ 4.4.1 ด้วย ก็ให้เพิ่มคะแนนขึ้นอีกตามเกณฑ์ของชั้นปีที่สอบได้
          4.4.5 หนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษ และคะแนนพิเศษ เอกสารสิทธิพิเศษตามข้อ 4.4 (ถ้ามี) ให้ส่งถึง โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (แผนกธุรการ) ซอยพหลโยธิน 30 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900 ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ดูตราประทับของไปรษณีย์ เป็นสำคัญ) และวงเล็บมุมซองด้านล่างขวาว่า“สิทธิพิเศษ” หรือส่ง ณ สถานที่รับสมัครในวันสมัครด้วยตนเอง (แบบหนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนพิเศษ ตํามผนวก ข)

5. การสอบคัดเลือกและการประกาศผลสอบ
     5.1 สอบภาควิชาการ
          5.1.1 วิชาที่สอบคัดเลือกมีการสอบวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา ภายในขอบเขตของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ (ม.1 – ม.3) ในวันเสาร์ที 5 มีนําคม 2559 เวลา 1300 น. ถึง 1600 น. ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย มีรายละเอียดดังนี้
               5.1.1.1 วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม           100  คะแนน
               5.1.1.2 วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม          100  คะแนน
               5.1.1.3 วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม         100  คะแนน
               5.1.1.4 วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม              50   คะแนน
               5.1.1.5 วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม            50   คะแนน
                                                                          รวม  400  คะแนน
     5.1.2 การปฏิบัติในการสอบ และข้อห้ามต่าง ๆ
          5.1.2.1 ผู้สมัครสอบนำเครื่องเขียนมาเอง โดยใช้ดินสอด่ํา ขนาด 2 บี ขึ้นไปและยางลบดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ และไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆเข้าไปในห้องสอบ
           5.1.2.2 ให้ไปถึงสถานที สอบก่อนเวลา 1130 น. เพื่อตรวจสอบผังห้องสอบ และที่นั่งสอบ รวมทั้งรอฟังคำสั่งหรือคำชี้แจงอื่น ๆ จากกรรมการ
          5.1.2.3 ถ้าไปถึงสถานที่สอบสายเกินเวลาเริ่มสอบจะต้องพบกรรมการอำนวยการก่อน ถ้าสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.4 ผู้สมัครสอบจะต้อง น่ําบัตรประจ่ําตัวสอบ และบัตรประจ่ําตัวประชาชนติดตัวมาทุกครั้งที่เข้าสอบ มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.5 ผู้สมัครสอบจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบนักเรียน หรือแต่งกายสุภาพ
          5.1.2.6 ให้ผู้สมัครสอบ รอ ณ บริเวณหน้าห้องสอบ เพื่อรอฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.7 เมื่อเข้าห้องสอบแล้วให้นั่งตามหมายเลขที่กำหนด
          5.1.2.8 วางบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไว้มุมโต๊ะด้านขวา
          5.1.2.9 นั่งกอดอกฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.10 หากมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ยกมือสอบถามกรรมการ
          5.1.2.11 ต้องอยู่ในห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.12 ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าห้องสอบนอกจากเครื่องเขียนที่กำหนด
          5.1.2.13 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่งจากกรรมการ
          5.1.2.14 ห้ามขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ นอกจากที่กำหนดไว้ลงในใบตอบปัญหาสอบ
          5.1.2.15 ห้ามพูดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.16 ห้ามเคลื่อนย้ายหรือเลื่อนโต๊ะสอบ
          5.1.2.17 ห้ามลุกจากที่นั่งสอบถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.18 ห้ามเอียงตัว เหลียวหลัง เคาะโต๊ะ ส่งสัญญาณ หรือกระทำการใด ๆอันส่อจะทุจริตในการสอบ
          5.1.2.19 ห้ามนำใบตอบปัญหาสอบและปัญหาสอบออกจากห้องสอบ
          5.1.2.20 เมื่อจะส่งใบตอบปัญหาสอบ ให้ยกมือแจ้งกรรมการ เพื่อเก็บใบตอบปัญหาสอบ และปัญหาสอบ แล้วนั่งรอจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.21 เมื่อได้รับคำสั่งให้ออกจากห้องสอบให้ออกจากห้องสอบและลงจากอาคาร
     5.2 การประกาศผลสอบภาควิชาการ ประกาศผลสอบผ่านเว็บไซต์ www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. และประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ เรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 0900 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการ ศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ เพื่อทราบกำหนดการตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา (การดูประกาศผลสอบผู้สมัครไม่ต้องมาด้วยตนเองก็ได้)
     5.3 กํารตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวําจํา (วันที่ 14,15,16 มีนาคม 2559) ผู้สอบผ่านภาควิชาการรายงานตัว พร้อมจ่ายเงินค่าตรวจร่างกาย จ่ํานวน 600 บาท ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 0900 น. และตรวจเลือด, ปัสสาวะ,เอกซเรย์ ในวันเดียวกัน เวลา 0900 น. ถึง 1200 น. ณ อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สำหรับการสอบ พลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจาและตรวจร่างกาย จะด าเนินการในวันอังคารที่ ๑๕ และวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐ น.
ถึง 1600 น. (เตรียมกางเกงกีฬาขาสั้นมาด้วย) รายละเอียดอื่น ๆ มีดังนี้
          5.3.1 การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย จำนวน 4 สถานีประกอบด้วย ดึงข้อ ลุกนั่งใน 2 นาที ดันพื้นใน 2 นาทีและวิ่ง 800 เมตร (ตามผนวก ค)
          5.3.2 การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา เป็นการตรวจสอบบุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ไหวพริบปฏิภาณ ความสมบูรณ์ และความสมส่วนของร่างกาย
          5.3.3 การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจรูปร่างลักษณะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมทั้งการตรวจโรคที่ขัดต่อการศึกษา และการเข้ารับราชการทหาร (ตํามผนวก ง)
หมายเหตุ: - ผู้สมัครที ผ่านการสอบภาควิชําการแล้ว ขาดสอบพลศึกษํา และสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาหรือขาดการตรวจร่างกาย ให้ถือว่ําผู้สมัครสอบสละสิทธิ์
                 - ในวันที 15,16 มีนําคม 2559 แบ่งผู้สอบผ่านภาควิชาการเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละวันจะมีการสอบพลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจา จ่ํานวน 1 กลุ่ม และตรวจร่างกาย จ่ํานวน 1 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มจะแจ้งให้ทราบ ในวันประกาศผลสอบภาควิชาการ ผ่านทํางเว็บไซต์
     5.4 การประกาศผลสอบรอบสุดท้าย
          5.4.1 จะประกาศผลสอบเรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ อย่างเป็นทางการใน วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.4.2 ผู้สอบได้และผู้สอบได้สำรองนำบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง และลงชื่อรับทราบต่อคณะกรรมการในวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1500 น. พร้อมรับเอกสารทำสัญญาณ ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร และฟังคำชี้แจงในการทำสัญญา เวลา 1500 น. หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ (หากผู้ที่สอบได้หรือผู้ที่สอบได้สำรองไปดำเนินการด้วยตนเองไม่ได้ ให้ผู้แทนหรือผู้ปกครองนำบัตรประจำตัวสอบไปดำเนินการแทนได้)
          5.4.3 ผู้ที่สอบได้สำรองจะประกาศผลเรียงตามลำดับคะแนน หากมีบุคคลตัวจริงสละสิทธิ์จะเรียกบุคคลสำรองตามที่ประกาศไว้เข้าทดแทนตามลำดับ โดยให้ฟังผลการเรียกเพื่อมาแทนผู้สละสิทธิ์ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2549 เวลา 1600 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     5.5 สถานที สอบ (ผนวก จ)
          5.5.1 การสอบภาควิชาการ สอบที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
          5.5.2 การตรวจร่างกาย ตรวจที่อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.3 การสอบสัมภาษณ์ สอบที่อาคารแผนกวิชาพื้นฐาน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.4 การสอบพลศึกษา สอบที่อาคารกรมนักเรียน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

6. การทำสัญญา
     ผู้สมัครสอบที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร จะต้องทำสัญญา ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในวันพุธที่ 23 และวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. และบุคคลสำรองทำสัญญาในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
     6.1 ผู้สอบได้ให้นำผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง พร้อมเอกสารที่ ทางราชการกำหนดและค่าใช้จ่ํายตามที่ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร แจ้งให้ทราบ มาด่ําเนินการทำสัญญา ในวัน เวลา ที่ ก่ําหนด
     6.2 คุณสมบัติของผู้ปกครอง
          6.2.1 ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย และยินยอมรับผู้สมัครสอบไว้ในปกครองโดยแท้จริง และยอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.2 ผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.3 ผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของทางราชการ มาแสดงในวันทำสัญญา และถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.3 คุณสมบัติของผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง
          6.3.1 ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ หรือข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ ระดับ 3 ขึ้นไป
          6.3.2 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้(วันทำสัญญาไม่ต้องนำคู่สมรสไปด้วยก็ได้)
          6.3.3 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวข้าราชการไปแสดงในวันทำสัญญาและถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.4 ผู้ปกครองและผู้ค้ำประกันผู้ปกครองจะเป็นบุคคลเดียวกันไม่ได้
     6.5 พระภิกษุหรือนักบวชในศาสนาใด ๆ เป็นผู้ปกครอง หรือ ผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ไม่ได้

7.การหมดสิทธิ์สอบ
     7.1 ผู้หมดสิทธิ์ในการสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนช่ํางฝีมือทหาร คือ
          7.1.1 ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 และมีขนาดพิกัด ความสมบูรณ์ของร่างกายไม่ได้ตามเกณฑ์
(ตํามผนวก ง)
          7.1.2 หลักฐานเอกสารตามข้อ 4.4 อย่างใดอย่างหนึ่งไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเท็จ
     7.2 ผู้หมดสิทธิ์ ในการสอบคัดเลือก คือ
          7.2.1 ผู้ที่ทุจริตและ/หรือ ส่อเจตนาทุจริตในเวลาสอบ
          7.2.2 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ ดังนี้.
               7.2.2.1 เข้าสอบช้ากว่ากำหนดเวลาที่เริ่มต้นสอบ เกิน 30 นาที หมดสิทธิ์เข้าห้องสอบ
               7.2.2.2 ห้ามนำเอกสาร อุปกรณ์การคำนวณ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ
               7.2.2.3 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
               7.2.2.4 ห้ามพูดคุย หรือปรึกษา หากสงสัยให้ยกมือถามกรรมการเท่านั้น
               7.2.2.5 ห้ามออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่คณะกรรมการคุมสอบกำหนด
               7.2.2.6 ห้ามนำปัญหาสอบออกนอกห้องสอบ
     7.3 ผู้หมดสิทธิ์ในการท่ําสัญญาเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือ
          7.3.1 ผู้ซึ่งปรากฏภายหลังว่าต้องหมดสิทธิ์ตามข้อ 7.1 หรือ 7.2
          7.3.2 ผู้ที่ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.2 ถึง 6.5
          7.3.3 ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาตามวัน เวลา ที่กำหนด
     7.4 ผู้หมดสิทธิ์ในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือผู้ที่ ไม่ไปรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามก่ําหนด
     7.5 การหมดสิทธิ์ภายหลังเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารแล้ว คือการที่ รร.ชท. สามารถตรวจสอบและพบว่ามีการด่ําเนินการทางทุจริตหรือร่วมด่ําเนินการทางทุจริตในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ทุกกรณี

8. การรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     รายงานตัวที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารในวันอาทิตย์ ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 0900 น.(หากไม่มารายงานตัวตามที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ตามข้อ 7.4) และให้ผู้สอบได้นำเอกสารและสิ่งของเครื่องใช้มาด้วย (จะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบสุดท้าย)

9. ค่าใช้จ่ายในการเข้าศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     การศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายขั้นต้น โดยประมาณ ดังต่อไปนี้
     ชั้นปีที่ 1 ภาคต้น ประมาณ         46680  บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 3 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350   บาท


10. สิทธิและเงื่อนไขของการเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นนักเรียนประเภทอยู่ประจำ มีสิทธิและเงื่อนไขระหว่างศึกษาและเมื่อสำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้
     10.1 ระหว่างเข้ารับการศึกษา
          10.1.1 เรียน วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ระหว่างเวลา 0800 น. ถึง 1630 น.
          10.1.2 ทางราชการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 111 บาท
          10.1.3 ทางราชการจ่ายค่าวัสดุฝึกให้
          10.1.4 มีที่พักในโรงเรียนให้ระหว่างศึกษา
          10.1.5 ให้การรักษาพยาบาล ฟรี
     10.2 เมื่อส่ําเร็จการศึกษา
          10.2.1 จะได้รับคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
          10.2.2 ทางราชการจะบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศกองบัญชาการกองทัพไทย หรือส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม อัตราเงินเดือนขั้นต้นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
          10.2.3 สามารถเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ได้โดยขออนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดที่รับราชการ

11. ข้อผูกพันกับทางราชการ
     11.1 ในระหว่างศึกษา ถ้าลาออก หรือถูกปลดออก ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการตามสัญญา
     11.2 เมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้สมัครสอบจะต้องรับราชการ หรือทำงานในส่วนราชการหรือองค์การในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือตามความเห็นชอบของกระทรวงกลาโหม ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ศึกษาถ้าลาออก หรือต้องออกจากราชการก่อนกำหนดนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ค้ำประกัน จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ทางราชการตามสัญญา ที่กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด



แหล่งที่มาโรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร


Sunday 27 August 2017

วิธีการหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยม เมื่อทราบด้านสามด้าน ที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้กฎของ Cosines (โคไซน์)

วิธีการหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยม เมื่อทราบด้านสามด้าน ที่ไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้กฎของ Cosines (โคไซน์)

ในบางครั้งที่น้องๆทำโจทย์ข้อสอบ ก็จะแก้ปัญหาแต่ทีี่คุ้นเคยคือ สมการพีทาโกรัสแต่ในบางครั้งเราสามารถแก้ปัญหาโจทย์ของรูปสามเหลี่ยมได้ง่ายดายมากๆ ถึงแม่ว่าโจทย์ข้อนั้นจะไม่ใช่สามเหลี่ยมมุมฉากก็ตาม น้องๆลองดูทฤษฎีและการประยุคนะครับเมื่อเวลาเจอข้อสอบจะได้ทำได้อย่างลวดเร็วครับ

จากรูปใต้ล่างนี้นะครับ


จากรูปตัวอย่างด้านบนโดยใช้ กฎของ โคไซน์ เราได้ได้สมการดังนี้

$a^2=b^2+c^2-2bc\cos A$

นอกจากนั้นน้องๆยังสามารถนำกฎของโคไซน์ไปประยุค หามุมแต่ละมุมโดยแยกออกเป็นสมการที่สามารถมองได้ง่ายๆ เป็นแต่ละมุมได้ดังนี้ครับ

มุม $A$

$\cos (A) = \cfrac{b^2+c^2-a^2}{2bc}$

มุม $B$

$\cos (B)=\cfrac{c^2+a^2-b^2}{2ca}$

มุม $C$

$\cos (C)=\cfrac{b^2+a^2-c^2}{2bd}$


ตัวอย่างวิธีการคำนวณ



น้องๆลองดูตัวอย่างนีี้นะครับ
จากรูป เราจะทราบด้าน 3 ด้านโดยไม่ทราบว่ามุมมีขนาดเท่าใดบ้างแต่ที่สำคัญข้อหนึ่งของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมก็คือ ผลบวกของทั้งสามมุมจะเท่ากับ $180$ ถ้าคิดอะไรยังไม่ออกก็ตั้งสมการเล่นๆไปก่อนนะครับ

ผลรวมของทั้งสามมุมคือ

$\widehat{A} +\widehat{B} +\widehat{C} = 180^\circ$


เริ่มต้นด้วย เรามามุมหามุม $A$ กันก่อนเลยนะครับ

มุมที่ 1
จากกฎของ โคไซน์ จะได้สมการของมุม $A$ คือ

$\cos (A) = \cfrac{2^2+{(2\sqrt{3})}^2-4^2}{2\times 2\times 2\sqrt{3}}$


$\cos (A)=\cfrac{4+12-16}{8\sqrt{3}}$

$\cos (A)=\cfrac{0}{8\sqrt{3}}$

$\cos(A)=0$

จาก สมการด้านบน $\cos (A)=0$ แสดงว่า  มุม $A = 90^\circ$


มุมที่ 2
จากกฎขอิงโคไซน์ จะได้สมการของมุม $B$ คือ

$\cos (B)=\cfrac{{(2\sqrt{3})}^2+4^2-2^2}{2\times 2\sqrt{3}\times 4}$


$\cos (B)=\cfrac{12+16-4}{16\sqrt{3}}$

$\cos (B)=\cfrac{24}{16\sqrt{3}}$

$\cos (B)=\cfrac{3}{2\sqrt{3}}$

ถ้าเป็นรูปแบบนี้น้องๆหลายคนอาจจะมองไม่ออกก็ได้นะครับ แต่ปกติคำตอบของมุมนี้เป็นมุมที่เราพบกันบ่อยมากๆเลยครับ ลองเปลี่ยนรูปดูนะครับ โดยการนำเอา $\sqrt{3}$ คูณทั้งบนและล่าง จะได้

$\cos (B)=\cfrac{3\sqrt{3}}{2\times 3}$

$\cos (B)=\cfrac{\sqrt{3}}{2}$

เพราะฉะนั้นแล้วเราจะได้มุม $B=30^\circ$

จากสมบัติที่พี่ได้บอกคือว่า ผลบวกของมุมภายในของรูปสามเหลี่ยมจะเท่ากับ $180^\circ$

เพราะฉะนั้นแล้วเราสามารถหาค่าของมุม \widehat{C}$ ได้โดย

มุมที่ 3

$90 + 30 +\widehat{C} =180$

$C=60$


หรือน้องจะลองคิดโดยใช้กฎของโคไซน์ก็ได้นะครับโดยมุม $C$ จะเท่ากับ

$\cos (C)=\cfrac{4^2+2^2 -{(2\sqrt{3})}^2}{2\times 2\times 4}$

$\cos (C)=\cfrac{16+4-12}{16}$

$\cos (C)=\cfrac{8}{16}$

$\cos (C)=\cfrac{1}{2}$

เพราะฉะนั้นเมื่อ $\cos (C) = \cfrac{1}{2}$ ค่ามุม ของ $C$ จึงเท่ากับ $30^\circ$



น้องๆลองไปฝีกมือทำกันดูนะครับหรือไม่ก็ลองคิดวิธีนี้กับโจทย์อื่นๆดูเพื่อที่บางครั้ง อาจจะช่วยลดเวลาให้เราได้เยอะเลยครับ ในการทำข้อสอบ


ปล. ปกติแล้วถ้าตัวเลขออกมาไม่คุ้นเคยอาจจะต้องใช้เครื่องคิดเลขนะครับ แต่ถ้าโจทย์ข้อสอบโดยทั่วไปเขาจะกำหนดมาให้หรือไม่ ก็เป็นมุมที่เจอบ่อยๆในข้อสอบอยู่แล้วครับ





[PDF]แนว ข้อสอบช่างฝีมือทหาร ครบทุกวิชาพร้อมเฉลย ดาวน์โหลดฟรี พ.ศ.2552

[PDF] แนว ข้อสอบช่างฝีมือทหาร พร้อมเฉลยครบทุกวิชา พร้อมเฉลย ปี 2552





สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองและสามารถดาวน์โหลด (Download)ไปใช้ศึกษาได้ฟรีครับ
***ขอร้อง อย่าโหลดไปเพื่อจำหน่าย หรือไปขายต่อนะครับ ขอให้แชร์ไปให้เพื่อนหรือไม่ก็ ดาวน์โหลดไปให้เพื่่ิอนดีกว่าครับ


เอกสารชุดนี้ผมมีความตั้งใจจัดทำด้วยมีความสวยงามสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ครับ รูปประกอบผมวาดเองทุกรูปผมขออย่านำไปใช้เพื่อการค้านะครับ


ถ้าเอกสารชุดนี้ไม่เหมาะสมหรือบกพร่องประการใดสามารถแจ้งผมได้ทาง comment หรือไม่ก็ email มาแจ้งผมด้วยนะครับ ถ้าไม่เหมาะสมต้องการให้ผมลบออกผมจะดำเนินการให้ครับ



ระเบียบการับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารภาคปกติ
1.กล่าวนำ
     โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นสถานศึกษาสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์ (สปอ.) เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้กองทัพไทย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2503 เป็นต้นมา ปัจจุบันโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2552 ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญในทักษะวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วินัย บุคลิกภาพ และเป็นผู้มีปัญญาสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของส่วนราชการ ต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และตลาดแรงงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และสังคม

2.การจัดการศึกษา
     2.1 โรงเรียนช่างฝีมือทหาร จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระยะเวลาศึกษา 3 ปีหลังจากจบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า ปัจจุบันเปิดทำการสอนตามหลักสูตร จำนวน 6 สาขาวิชาชีพ คือ
          2.1.1 วิชาชีพช่างซ่อมบ ารุงเครื่องจักรกล (รหัสตัวอักษร ชบ.)
          2.1.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล (รหัสตัวอักษร ชก.)
          2.1.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ (รหัสตัวอักษร ชล.)
          2.1.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ (รหัสตัวอักษร ชย.)
          2.1.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง (รหัสตัวอักษร ชฟ.)
          2.1.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (รหัสตัวอักษร ชอ.)
     2.2 การศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพ
          2.2.1 วิชาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านและเขียนแบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล แบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น งานบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในโรงงาน งานตรวจสอบและปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนเครื่องจักรกล งานติดตั้งเครื่องจักรกล ระบบปั๊มและท่อ ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบติดตั้งและทดสอบสมรรถนะของเครื่องจักรกล รวมทั้งสร้างชิ้นส่วนบางชนิดตามแบบที่กำหนด
          2.2.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานกลึงขึ้นรูป งานกลึงเกลียว งานกลึงโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ งานกลึงด้วยเครื่องกลึงอัตโนมัติงานกัด งานไส งานเจียระไน งานเจาะ งานคว้าน งานอบชุบ งานวัดละเอียด งานเครื่องมือกล ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล งานแม่แบบสำหรับงานผลิตต่าง ๆ ตามแบบที่กำหนด รวมทั้งงานวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่อง และการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรกล
          2.2.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ งานเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส งานตัดเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยแก๊ส งานเชื่อมประสาน งานเชื่อมโลหะต่าง ๆ ด้วยเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ งานเชื่อมทิก งานเชื่อมมิก งานเชื่อมพลาสติก งานโลหะแผ่น งานระบบท่อ ภายในอาคาร งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ งานเชื่อมท่อแรงดัน งานผลิตโครงสร้างเหล็ก งานประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะประเภทต่าง ๆงานตรวจสอบแนวเชื่อม งานทดสอบแนวเชื่อม งานบัดกรีแข็ง งานอบชุบโลหะ งานโครงสร้างอะลูมิเนียม รวมทั้งงานเชื่อมและตัดใต้น้ำ
          2.2.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล ระบบส่งกำลังรถยนต์ เครื่องล่างรถยนต์ ไฟฟ้ารถยนต์ ระบบปรับอากาศในรถยนต์ งานเครื่องยนต์เล็กจักรยานยนต์งานเคาะตัวถังและงานสีรถยนต์งานกู้ซ่อม การขับขี่ยานยนต์และการบำรุงรักษารถยนต์ทุกระบบตามคู่มือ
          2.2.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานพื้นฐานช่างไฟฟ้ากำลัง งานไฟฟ้าภายในอาคาร งานไฟฟ้าภายนอกอาคาร ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรไฟฟ้า งานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและสำนักงาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง งานซ่อมบำรุงรักษาและทดสอบมอเตอร์ไฟฟ้า งานควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจและซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ งานเครื่องท าความเย็นและปรับอากาศ
          2.2.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจซ่อม ปรับแต่ง ติดตั้งตลอดจนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ งานสื่อสารโทรคมนาคม งานระบบภาพ ระบบเสียงงานโทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์สี ขาว-ด า ระบบวีดีทัศน์ งานคอมพิวเตอร์ งานแบบติดตั้ง และทดสอบงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

๓. คุณสมบัตขิองผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     3.1 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่ํา 2.00
      3.2 เป็นชายอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 1 เมษายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา รับผู้เกิด ตั้งแต่ 1 เมษํายน 2541 ถึงวันที 31 มีนําคม 2544 สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนผู้ที่เป็นเข้าราชการกลาโหม พนักงานราชการ หรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2538) และจะต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดอนุญาตให้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร มาแสดง (การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร)
     3.3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
     3.4 มีสุขภาพสมบูรณ์ และไม่มีโรคขัดกับกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
     3.5 มีผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ซึ่งสามารถรับผิดชอบในพันธกรณีต่างๆ ตามแบบสัญญาที่ กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด
     3.6 ไม่เคยถูกปลดหรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือองค์การใด ๆ
     3.7 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
     3.8 ไม่เป็นผู้พ้นจากความเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2553

4. การสมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     4.1 สมัครทํางอินเทอร์เน็ต เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ไม่เกินเวลา 2400 น. ของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559)
ขั้นตอนกํารสมัครทํางอินเทอร์เน็ต
          4.1.1 เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com) เลือก “สมัครสอบ”
          4.1.2 อ่านคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละประเภทให้รอบคอบก่อนทำการสมัคร เนื่องจากเมื่อท่านสมัครแล้วจะสมัครซ้ำ หรือเปลี่ยนประเภทการสมัครอีกไม่ได้
          4.1.3 เลือกประเภทการสมัครซึ่งมี 3 ประเภทคือ
               4.1.3.1 สมัครภาคปกติค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.2 สมัครภาคสมทบ ค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.3 สมัครทั้งสองภาค ค่าสมัคร 800 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 830 บาท
          4.1.4 กรอกรายละเอียดในหน้าสมัครสอบให้ครบทุกช่อง
          4.1.5 กรณีที่ท่านมีสิทฺธิพิเศษตามกำหนดในระเบียบการ ให้ท่านเลือกประเภทสิทธิพิเศษแล้วส่งหลักฐาน (เอกสารสิทธิพิเศษฉบับจริง) ไปที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เมื่อทางโรงเรียนได้รับหลักฐานแล้วจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน
          4.1.6 พิมพ์ใบสมัครไปท าการชำระเงินค่าสมัคร (สามารถชำระเงินค่าสมัครได้ไม่เกินวันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559) ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
          4.1.7 ตรวจสอบสถานะการชำระเงินที่เว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com)
          4.1.8 เมื่อตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านเรียบร้อยแล้วให้พิมพ์บัตรสอบได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 5 มีนาคม 2559
          4.1.9 ติดรูปผู้สมัครที่บัตรสอบในจุดที่กำหนด โดยใช้รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 1 นิ้วครึ่ง (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) ในชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่ยิ้ม ไม่ใส่แว่นตา
          4.1.10 น่ําบัตรสอบ พร้อมบัตรประชาชนมาแสดงในวันสอบ (ผู้สมัครต้องมีหลักฐานทั้งสองอย่าง หากขาดอย่ํางใดอย่างหนึ่ง ท่ํานอาจถูกตัดสิทธิ์ในกํารสอบ)
     4.2 สมัครด้วยตนเอง (โรงเรียนช่างฝีมือทหารให้บริการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต ในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร) ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ    1.ข้อสอบที่ใช้ใช้ปัญหาสอบชุดเดียวกัน และสอบ วัน เวลา เดียวกัน ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 1300 น. – 16000 น. พร้อมกัน ทุกภาค
                    2. ระเบียบการไม่มีจำหน่าย ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหารwww.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ตั้งแต่ ธันวาคม 2558เป็นต้นไป
     4.3 กรณีลืม หรือทำบัตรสอบหายให้ผู้สมัครติดต่อ กองอำนวยการ ณ สถานที่สอบโดยนำรูปถ่ายตามข้อ 4.1.9 มาด้วยเพื่อขอทำบัตรใหม่
     4.4 หลักฐานขอรับสิทธิพิเศษ
          4.4.1 หนังสือรับรอง แสดงว่าสอบวิชาทหารได้ ตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ปี 1,2 และ 3 เพิ่มให้ร้อยละ 2,3 และ 4 ของคะแนนรวมภาควิชาการ ตามลำดับ (แบบหนังสือ ตํามผนวก ก)
          4.4.2 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำหน้าที่ ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.3 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญ หรือบำเหน็จพิเศษตามข้อบังคับ หรือระเบียบของทางราชการ หรือบุตรของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.4 การได้รับเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 4.4.2 และ 4.4.3 ให้คิดเฉพาะในกรณีที่ได้เพิ่มคะแนนมากแต่อย่างเดียว และถ้าเป็นผู้ที่สอบวิชาทหารได้ตามข้อ 4.4.1 ด้วย ก็ให้เพิ่มคะแนนขึ้นอีกตามเกณฑ์ของชั้นปีที่สอบได้
          4.4.5 หนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษ และคะแนนพิเศษ เอกสารสิทธิพิเศษตามข้อ 4.4 (ถ้ามี) ให้ส่งถึง โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (แผนกธุรการ) ซอยพหลโยธิน 30 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900 ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ดูตราประทับของไปรษณีย์ เป็นสำคัญ) และวงเล็บมุมซองด้านล่างขวาว่า“สิทธิพิเศษ” หรือส่ง ณ สถานที่รับสมัครในวันสมัครด้วยตนเอง (แบบหนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนพิเศษ ตํามผนวก ข)

5. การสอบคัดเลือกและการประกาศผลสอบ
     5.1 สอบภาควิชาการ
          5.1.1 วิชาที่สอบคัดเลือกมีการสอบวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา ภายในขอบเขตของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ (ม.1 – ม.3) ในวันเสาร์ที 5 มีนําคม 2559 เวลา 1300 น. ถึง 1600 น. ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย มีรายละเอียดดังนี้
               5.1.1.1 วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม           100  คะแนน
               5.1.1.2 วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม          100  คะแนน
               5.1.1.3 วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม         100  คะแนน
               5.1.1.4 วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม              50   คะแนน
               5.1.1.5 วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม            50   คะแนน
                                                                          รวม  400  คะแนน
     5.1.2 การปฏิบัติในการสอบ และข้อห้ามต่าง ๆ
          5.1.2.1 ผู้สมัครสอบนำเครื่องเขียนมาเอง โดยใช้ดินสอด่ํา ขนาด 2 บี ขึ้นไปและยางลบดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ และไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆเข้าไปในห้องสอบ
           5.1.2.2 ให้ไปถึงสถานที สอบก่อนเวลา 1130 น. เพื่อตรวจสอบผังห้องสอบ และที่นั่งสอบ รวมทั้งรอฟังคำสั่งหรือคำชี้แจงอื่น ๆ จากกรรมการ
          5.1.2.3 ถ้าไปถึงสถานที่สอบสายเกินเวลาเริ่มสอบจะต้องพบกรรมการอำนวยการก่อน ถ้าสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.4 ผู้สมัครสอบจะต้อง น่ําบัตรประจ่ําตัวสอบ และบัตรประจ่ําตัวประชาชนติดตัวมาทุกครั้งที่เข้าสอบ มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.5 ผู้สมัครสอบจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบนักเรียน หรือแต่งกายสุภาพ
          5.1.2.6 ให้ผู้สมัครสอบ รอ ณ บริเวณหน้าห้องสอบ เพื่อรอฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.7 เมื่อเข้าห้องสอบแล้วให้นั่งตามหมายเลขที่กำหนด
          5.1.2.8 วางบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไว้มุมโต๊ะด้านขวา
          5.1.2.9 นั่งกอดอกฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.10 หากมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ยกมือสอบถามกรรมการ
          5.1.2.11 ต้องอยู่ในห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.12 ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าห้องสอบนอกจากเครื่องเขียนที่กำหนด
          5.1.2.13 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่งจากกรรมการ
          5.1.2.14 ห้ามขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ นอกจากที่กำหนดไว้ลงในใบตอบปัญหาสอบ
          5.1.2.15 ห้ามพูดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.16 ห้ามเคลื่อนย้ายหรือเลื่อนโต๊ะสอบ
          5.1.2.17 ห้ามลุกจากที่นั่งสอบถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.18 ห้ามเอียงตัว เหลียวหลัง เคาะโต๊ะ ส่งสัญญาณ หรือกระทำการใด ๆอันส่อจะทุจริตในการสอบ
          5.1.2.19 ห้ามนำใบตอบปัญหาสอบและปัญหาสอบออกจากห้องสอบ
          5.1.2.20 เมื่อจะส่งใบตอบปัญหาสอบ ให้ยกมือแจ้งกรรมการ เพื่อเก็บใบตอบปัญหาสอบ และปัญหาสอบ แล้วนั่งรอจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.21 เมื่อได้รับคำสั่งให้ออกจากห้องสอบให้ออกจากห้องสอบและลงจากอาคาร
     5.2 การประกาศผลสอบภาควิชาการ ประกาศผลสอบผ่านเว็บไซต์ www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. และประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ เรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 0900 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการ ศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ เพื่อทราบกำหนดการตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา (การดูประกาศผลสอบผู้สมัครไม่ต้องมาด้วยตนเองก็ได้)
     5.3 กํารตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวําจํา (วันที่ 14,15,16 มีนาคม 2559) ผู้สอบผ่านภาควิชาการรายงานตัว พร้อมจ่ายเงินค่าตรวจร่างกาย จ่ํานวน 600 บาท ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 0900 น. และตรวจเลือด, ปัสสาวะ,เอกซเรย์ ในวันเดียวกัน เวลา 0900 น. ถึง 1200 น. ณ อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สำหรับการสอบ พลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจาและตรวจร่างกาย จะด าเนินการในวันอังคารที่ ๑๕ และวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐ น.
ถึง 1600 น. (เตรียมกางเกงกีฬาขาสั้นมาด้วย) รายละเอียดอื่น ๆ มีดังนี้
          5.3.1 การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย จำนวน 4 สถานีประกอบด้วย ดึงข้อ ลุกนั่งใน 2 นาที ดันพื้นใน 2 นาทีและวิ่ง 800 เมตร (ตามผนวก ค)
          5.3.2 การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา เป็นการตรวจสอบบุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ไหวพริบปฏิภาณ ความสมบูรณ์ และความสมส่วนของร่างกาย
          5.3.3 การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจรูปร่างลักษณะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมทั้งการตรวจโรคที่ขัดต่อการศึกษา และการเข้ารับราชการทหาร (ตํามผนวก ง)
หมายเหตุ: - ผู้สมัครที ผ่านการสอบภาควิชําการแล้ว ขาดสอบพลศึกษํา และสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาหรือขาดการตรวจร่างกาย ให้ถือว่ําผู้สมัครสอบสละสิทธิ์
                 - ในวันที 15,16 มีนําคม 2559 แบ่งผู้สอบผ่านภาควิชาการเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละวันจะมีการสอบพลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจา จ่ํานวน 1 กลุ่ม และตรวจร่างกาย จ่ํานวน 1 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มจะแจ้งให้ทราบ ในวันประกาศผลสอบภาควิชาการ ผ่านทํางเว็บไซต์
     5.4 การประกาศผลสอบรอบสุดท้าย
          5.4.1 จะประกาศผลสอบเรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ อย่างเป็นทางการใน วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.4.2 ผู้สอบได้และผู้สอบได้สำรองนำบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง และลงชื่อรับทราบต่อคณะกรรมการในวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1500 น. พร้อมรับเอกสารทำสัญญาณ ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร และฟังคำชี้แจงในการทำสัญญา เวลา 1500 น. หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ (หากผู้ที่สอบได้หรือผู้ที่สอบได้สำรองไปดำเนินการด้วยตนเองไม่ได้ ให้ผู้แทนหรือผู้ปกครองนำบัตรประจำตัวสอบไปดำเนินการแทนได้)
          5.4.3 ผู้ที่สอบได้สำรองจะประกาศผลเรียงตามลำดับคะแนน หากมีบุคคลตัวจริงสละสิทธิ์จะเรียกบุคคลสำรองตามที่ประกาศไว้เข้าทดแทนตามลำดับ โดยให้ฟังผลการเรียกเพื่อมาแทนผู้สละสิทธิ์ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2549 เวลา 1600 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     5.5 สถานที สอบ (ผนวก จ)
          5.5.1 การสอบภาควิชาการ สอบที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
          5.5.2 การตรวจร่างกาย ตรวจที่อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.3 การสอบสัมภาษณ์ สอบที่อาคารแผนกวิชาพื้นฐาน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.4 การสอบพลศึกษา สอบที่อาคารกรมนักเรียน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

6. การทำสัญญา
     ผู้สมัครสอบที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร จะต้องทำสัญญา ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในวันพุธที่ 23 และวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. และบุคคลสำรองทำสัญญาในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
     6.1 ผู้สอบได้ให้นำผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง พร้อมเอกสารที่ ทางราชการกำหนดและค่าใช้จ่ํายตามที่ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร แจ้งให้ทราบ มาด่ําเนินการทำสัญญา ในวัน เวลา ที่ ก่ําหนด
     6.2 คุณสมบัติของผู้ปกครอง
          6.2.1 ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย และยินยอมรับผู้สมัครสอบไว้ในปกครองโดยแท้จริง และยอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.2 ผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.3 ผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของทางราชการ มาแสดงในวันทำสัญญา และถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.3 คุณสมบัติของผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง
          6.3.1 ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ หรือข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ ระดับ 3 ขึ้นไป
          6.3.2 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้(วันทำสัญญาไม่ต้องนำคู่สมรสไปด้วยก็ได้)
          6.3.3 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวข้าราชการไปแสดงในวันทำสัญญาและถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.4 ผู้ปกครองและผู้ค้ำประกันผู้ปกครองจะเป็นบุคคลเดียวกันไม่ได้
     6.5 พระภิกษุหรือนักบวชในศาสนาใด ๆ เป็นผู้ปกครอง หรือ ผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ไม่ได้

7.การหมดสิทธิ์สอบ
     7.1 ผู้หมดสิทธิ์ในการสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนช่ํางฝีมือทหาร คือ
          7.1.1 ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 และมีขนาดพิกัด ความสมบูรณ์ของร่างกายไม่ได้ตามเกณฑ์
(ตํามผนวก ง)
          7.1.2 หลักฐานเอกสารตามข้อ 4.4 อย่างใดอย่างหนึ่งไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเท็จ
     7.2 ผู้หมดสิทธิ์ ในการสอบคัดเลือก คือ
          7.2.1 ผู้ที่ทุจริตและ/หรือ ส่อเจตนาทุจริตในเวลาสอบ
          7.2.2 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ ดังนี้.
               7.2.2.1 เข้าสอบช้ากว่ากำหนดเวลาที่เริ่มต้นสอบ เกิน 30 นาที หมดสิทธิ์เข้าห้องสอบ
               7.2.2.2 ห้ามนำเอกสาร อุปกรณ์การคำนวณ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ
               7.2.2.3 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
               7.2.2.4 ห้ามพูดคุย หรือปรึกษา หากสงสัยให้ยกมือถามกรรมการเท่านั้น
               7.2.2.5 ห้ามออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่คณะกรรมการคุมสอบกำหนด
               7.2.2.6 ห้ามนำปัญหาสอบออกนอกห้องสอบ
     7.3 ผู้หมดสิทธิ์ในการท่ําสัญญาเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือ
          7.3.1 ผู้ซึ่งปรากฏภายหลังว่าต้องหมดสิทธิ์ตามข้อ 7.1 หรือ 7.2
          7.3.2 ผู้ที่ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.2 ถึง 6.5
          7.3.3 ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาตามวัน เวลา ที่กำหนด
     7.4 ผู้หมดสิทธิ์ในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือผู้ที่ ไม่ไปรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามก่ําหนด
     7.5 การหมดสิทธิ์ภายหลังเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารแล้ว คือการที่ รร.ชท. สามารถตรวจสอบและพบว่ามีการด่ําเนินการทางทุจริตหรือร่วมด่ําเนินการทางทุจริตในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ทุกกรณี

8. การรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     รายงานตัวที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารในวันอาทิตย์ ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 0900 น.(หากไม่มารายงานตัวตามที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ตามข้อ 7.4) และให้ผู้สอบได้นำเอกสารและสิ่งของเครื่องใช้มาด้วย (จะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบสุดท้าย)

9. ค่าใช้จ่ายในการเข้าศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     การศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายขั้นต้น โดยประมาณ ดังต่อไปนี้
     ชั้นปีที่ 1 ภาคต้น ประมาณ         46680  บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 3 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350   บาท


10. สิทธิและเงื่อนไขของการเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นนักเรียนประเภทอยู่ประจำ มีสิทธิและเงื่อนไขระหว่างศึกษาและเมื่อสำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้
     10.1 ระหว่างเข้ารับการศึกษา
          10.1.1 เรียน วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ระหว่างเวลา 0800 น. ถึง 1630 น.
          10.1.2 ทางราชการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 111 บาท
          10.1.3 ทางราชการจ่ายค่าวัสดุฝึกให้
          10.1.4 มีที่พักในโรงเรียนให้ระหว่างศึกษา
          10.1.5 ให้การรักษาพยาบาล ฟรี
     10.2 เมื่อส่ําเร็จการศึกษา
          10.2.1 จะได้รับคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
          10.2.2 ทางราชการจะบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศกองบัญชาการกองทัพไทย หรือส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม อัตราเงินเดือนขั้นต้นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
          10.2.3 สามารถเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ได้โดยขออนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดที่รับราชการ

11. ข้อผูกพันกับทางราชการ
     11.1 ในระหว่างศึกษา ถ้าลาออก หรือถูกปลดออก ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการตามสัญญา
     11.2 เมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้สมัครสอบจะต้องรับราชการ หรือทำงานในส่วนราชการหรือองค์การในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือตามความเห็นชอบของกระทรวงกลาโหม ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ศึกษาถ้าลาออก หรือต้องออกจากราชการก่อนกำหนดนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ค้ำประกัน จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ทางราชการตามสัญญา ที่กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด



แหล่งที่มาโรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร





Saturday 26 August 2017

ระเบียบการและวิธีการสมัคร เข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ภาคปกติ พ.ศ.2559


1.กล่าวนำ
     โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นสถานศึกษาสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์ (สปอ.) เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้กองทัพไทย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2503 เป็นต้นมา ปัจจุบันโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2552 ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำนาญในทักษะวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วินัย บุคลิกภาพ และเป็นผู้มีปัญญาสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของส่วนราชการ ต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และตลาดแรงงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และสังคม

2.การจัดการศึกษา
     2.1 โรงเรียนช่างฝีมือทหาร จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระยะเวลาศึกษา 3 ปีหลังจากจบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า ปัจจุบันเปิดทำการสอนตามหลักสูตร จำนวน 6 สาขาวิชาชีพ คือ
          2.1.1 วิชาชีพช่างซ่อมบ ารุงเครื่องจักรกล (รหัสตัวอักษร ชบ.)
          2.1.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล (รหัสตัวอักษร ชก.)
          2.1.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ (รหัสตัวอักษร ชล.)
          2.1.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ (รหัสตัวอักษร ชย.)
          2.1.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง (รหัสตัวอักษร ชฟ.)
          2.1.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (รหัสตัวอักษร ชอ.)
     2.2 การศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพ
          2.2.1 วิชาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านและเขียนแบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล แบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น งานบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในโรงงาน งานตรวจสอบและปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนเครื่องจักรกล งานติดตั้งเครื่องจักรกล ระบบปั๊มและท่อ ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบติดตั้งและทดสอบสมรรถนะของเครื่องจักรกล รวมทั้งสร้างชิ้นส่วนบางชนิดตามแบบที่กำหนด
          2.2.2 วิชาชีพช่างเครื่องมือกล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานกลึงขึ้นรูป งานกลึงเกลียว งานกลึงโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ งานกลึงด้วยเครื่องกลึงอัตโนมัติงานกัด งานไส งานเจียระไน งานเจาะ งานคว้าน งานอบชุบ งานวัดละเอียด งานเครื่องมือกล ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล งานแม่แบบสำหรับงานผลิตต่าง ๆ ตามแบบที่กำหนด รวมทั้งงานวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่อง และการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรกล
          2.2.3 วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ งานเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส งานตัดเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยแก๊ส งานเชื่อมประสาน งานเชื่อมโลหะต่าง ๆ ด้วยเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ งานเชื่อมทิก งานเชื่อมมิก งานเชื่อมพลาสติก งานโลหะแผ่น งานระบบท่อ ภายในอาคาร งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ งานเชื่อมท่อแรงดัน งานผลิตโครงสร้างเหล็ก งานประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะประเภทต่าง ๆงานตรวจสอบแนวเชื่อม งานทดสอบแนวเชื่อม งานบัดกรีแข็ง งานอบชุบโลหะ งานโครงสร้างอะลูมิเนียม รวมทั้งงานเชื่อมและตัดใต้น้ำ
          2.2.4 วิชาชีพช่างยานยนต์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล ระบบส่งกำลังรถยนต์ เครื่องล่างรถยนต์ ไฟฟ้ารถยนต์ ระบบปรับอากาศในรถยนต์ งานเครื่องยนต์เล็กจักรยานยนต์งานเคาะตัวถังและงานสีรถยนต์งานกู้ซ่อม การขับขี่ยานยนต์และการบำรุงรักษารถยนต์ทุกระบบตามคู่มือ
          2.2.5 วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานพื้นฐานช่างไฟฟ้ากำลัง งานไฟฟ้าภายในอาคาร งานไฟฟ้าภายนอกอาคาร ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรไฟฟ้า งานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและสำนักงาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง งานซ่อมบำรุงรักษาและทดสอบมอเตอร์ไฟฟ้า งานควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจและซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ งานเครื่องท าความเย็นและปรับอากาศ
          2.2.6 วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจซ่อม ปรับแต่ง ติดตั้งตลอดจนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ งานสื่อสารโทรคมนาคม งานระบบภาพ ระบบเสียงงานโทรทัศน์วงจรปิด โทรทัศน์สี ขาว-ด า ระบบวีดีทัศน์ งานคอมพิวเตอร์ งานแบบติดตั้ง และทดสอบงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

๓. คุณสมบัตขิองผู้สมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     3.1 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าและมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่ํา 2.00
      3.2 เป็นชายอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 1 เมษายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา รับผู้เกิด ตั้งแต่ 1 เมษํายน 2541 ถึงวันที 31 มีนําคม 2544 สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนผู้ที่เป็นเข้าราชการกลาโหม พนักงานราชการ หรือลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหม อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิดก่อน พ.ศ. 2538) และจะต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดอนุญาตให้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร มาแสดง (การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร)
     3.3 มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
     3.4 มีสุขภาพสมบูรณ์ และไม่มีโรคขัดกับกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
     3.5 มีผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน ซึ่งสามารถรับผิดชอบในพันธกรณีต่างๆ ตามแบบสัญญาที่ กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด
     3.6 ไม่เคยถูกปลดหรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือองค์การใด ๆ
     3.7 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
     3.8 ไม่เป็นผู้พ้นจากความเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนช่างฝีมือทหาร พ.ศ.2553

4. การสมัครเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     4.1 สมัครทํางอินเทอร์เน็ต เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ไม่เกินเวลา 2400 น. ของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559)
ขั้นตอนกํารสมัครทํางอินเทอร์เน็ต
          4.1.1 เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com) เลือก “สมัครสอบ”
          4.1.2 อ่านคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละประเภทให้รอบคอบก่อนทำการสมัคร เนื่องจากเมื่อท่านสมัครแล้วจะสมัครซ้ำ หรือเปลี่ยนประเภทการสมัครอีกไม่ได้
          4.1.3 เลือกประเภทการสมัครซึ่งมี 3 ประเภทคือ
               4.1.3.1 สมัครภาคปกติค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.2 สมัครภาคสมทบ ค่าสมัคร 400 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 430 บาท
               4.1.3.3 สมัครทั้งสองภาค ค่าสมัคร 800 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท รวม 830 บาท
          4.1.4 กรอกรายละเอียดในหน้าสมัครสอบให้ครบทุกช่อง
          4.1.5 กรณีที่ท่านมีสิทฺธิพิเศษตามกำหนดในระเบียบการ ให้ท่านเลือกประเภทสิทธิพิเศษแล้วส่งหลักฐาน (เอกสารสิทธิพิเศษฉบับจริง) ไปที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เมื่อทางโรงเรียนได้รับหลักฐานแล้วจะแจ้งให้ผู้สมัครทราบผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน
          4.1.6 พิมพ์ใบสมัครไปท าการชำระเงินค่าสมัคร (สามารถชำระเงินค่าสมัครได้ไม่เกินวันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559) ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
          4.1.7 ตรวจสอบสถานะการชำระเงินที่เว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร (www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com)
          4.1.8 เมื่อตรวจสอบสถานะการชำระเงินผ่านเรียบร้อยแล้วให้พิมพ์บัตรสอบได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 5 มีนาคม 2559
          4.1.9 ติดรูปผู้สมัครที่บัตรสอบในจุดที่กำหนด โดยใช้รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 1 นิ้วครึ่ง (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) ในชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่ยิ้ม ไม่ใส่แว่นตา
          4.1.10 น่ําบัตรสอบ พร้อมบัตรประชาชนมาแสดงในวันสอบ (ผู้สมัครต้องมีหลักฐานทั้งสองอย่าง หากขาดอย่ํางใดอย่างหนึ่ง ท่ํานอาจถูกตัดสิทธิ์ในกํารสอบ)
     4.2 สมัครด้วยตนเอง (โรงเรียนช่างฝีมือทหารให้บริการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต ในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร) ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
หมายเหตุ    1.ข้อสอบที่ใช้ใช้ปัญหาสอบชุดเดียวกัน และสอบ วัน เวลา เดียวกัน ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 1300 น. – 16000 น. พร้อมกัน ทุกภาค
                    2. ระเบียบการไม่มีจำหน่าย ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหารwww.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ตั้งแต่ ธันวาคม 2558เป็นต้นไป
     4.3 กรณีลืม หรือทำบัตรสอบหายให้ผู้สมัครติดต่อ กองอำนวยการ ณ สถานที่สอบโดยนำรูปถ่ายตามข้อ 4.1.9 มาด้วยเพื่อขอทำบัตรใหม่
     4.4 หลักฐานขอรับสิทธิพิเศษ
          4.4.1 หนังสือรับรอง แสดงว่าสอบวิชาทหารได้ ตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร ปี 1,2 และ 3 เพิ่มให้ร้อยละ 2,3 และ 4 ของคะแนนรวมภาควิชาการ ตามลำดับ (แบบหนังสือ ตํามผนวก ก)
          4.4.2 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำหน้าที่ ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.3 หนังสือรับรอง แสดงว่าเป็นบุตรของทหาร ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญ หรือบำเหน็จพิเศษตามข้อบังคับ หรือระเบียบของทางราชการ หรือบุตรของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
          4.4.4 การได้รับเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 4.4.2 และ 4.4.3 ให้คิดเฉพาะในกรณีที่ได้เพิ่มคะแนนมากแต่อย่างเดียว และถ้าเป็นผู้ที่สอบวิชาทหารได้ตามข้อ 4.4.1 ด้วย ก็ให้เพิ่มคะแนนขึ้นอีกตามเกณฑ์ของชั้นปีที่สอบได้
          4.4.5 หนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษ และคะแนนพิเศษ เอกสารสิทธิพิเศษตามข้อ 4.4 (ถ้ามี) ให้ส่งถึง โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (แผนกธุรการ) ซอยพหลโยธิน 30 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900 ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ดูตราประทับของไปรษณีย์ เป็นสำคัญ) และวงเล็บมุมซองด้านล่างขวาว่า“สิทธิพิเศษ” หรือส่ง ณ สถานที่รับสมัครในวันสมัครด้วยตนเอง (แบบหนังสือรับรองขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนพิเศษ ตํามผนวก ข)

5. การสอบคัดเลือกและการประกาศผลสอบ
     5.1 สอบภาควิชาการ
          5.1.1 วิชาที่สอบคัดเลือกมีการสอบวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา ภายในขอบเขตของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ (ม.1 – ม.3) ในวันเสาร์ที 5 มีนําคม 2559 เวลา 1300 น. ถึง 1600 น. ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย มีรายละเอียดดังนี้
               5.1.1.1 วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม           100  คะแนน
               5.1.1.2 วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม          100  คะแนน
               5.1.1.3 วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม         100  คะแนน
               5.1.1.4 วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม              50   คะแนน
               5.1.1.5 วิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม            50   คะแนน
                                                                          รวม  400  คะแนน
     5.1.2 การปฏิบัติในการสอบ และข้อห้ามต่าง ๆ
          5.1.2.1 ผู้สมัครสอบนำเครื่องเขียนมาเอง โดยใช้ดินสอด่ํา ขนาด 2 บี ขึ้นไปและยางลบดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ และไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด หรือกระดาษร่าง โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆเข้าไปในห้องสอบ
           5.1.2.2 ให้ไปถึงสถานที สอบก่อนเวลา 1130 น. เพื่อตรวจสอบผังห้องสอบ และที่นั่งสอบ รวมทั้งรอฟังคำสั่งหรือคำชี้แจงอื่น ๆ จากกรรมการ
          5.1.2.3 ถ้าไปถึงสถานที่สอบสายเกินเวลาเริ่มสอบจะต้องพบกรรมการอำนวยการก่อน ถ้าสายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.4 ผู้สมัครสอบจะต้อง น่ําบัตรประจ่ําตัวสอบ และบัตรประจ่ําตัวประชาชนติดตัวมาทุกครั้งที่เข้าสอบ มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
          5.1.2.5 ผู้สมัครสอบจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบนักเรียน หรือแต่งกายสุภาพ
          5.1.2.6 ให้ผู้สมัครสอบ รอ ณ บริเวณหน้าห้องสอบ เพื่อรอฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.7 เมื่อเข้าห้องสอบแล้วให้นั่งตามหมายเลขที่กำหนด
          5.1.2.8 วางบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไว้มุมโต๊ะด้านขวา
          5.1.2.9 นั่งกอดอกฟังคำสั่งกรรมการ
          5.1.2.10 หากมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ยกมือสอบถามกรรมการ
          5.1.2.11 ต้องอยู่ในห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.12 ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าห้องสอบนอกจากเครื่องเขียนที่กำหนด
          5.1.2.13 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่งจากกรรมการ
          5.1.2.14 ห้ามขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ นอกจากที่กำหนดไว้ลงในใบตอบปัญหาสอบ
          5.1.2.15 ห้ามพูดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.16 ห้ามเคลื่อนย้ายหรือเลื่อนโต๊ะสอบ
          5.1.2.17 ห้ามลุกจากที่นั่งสอบถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
          5.1.2.18 ห้ามเอียงตัว เหลียวหลัง เคาะโต๊ะ ส่งสัญญาณ หรือกระทำการใด ๆอันส่อจะทุจริตในการสอบ
          5.1.2.19 ห้ามนำใบตอบปัญหาสอบและปัญหาสอบออกจากห้องสอบ
          5.1.2.20 เมื่อจะส่งใบตอบปัญหาสอบ ให้ยกมือแจ้งกรรมการ เพื่อเก็บใบตอบปัญหาสอบ และปัญหาสอบ แล้วนั่งรอจนกว่าจะหมดเวลาสอบ
          5.1.2.21 เมื่อได้รับคำสั่งให้ออกจากห้องสอบให้ออกจากห้องสอบและลงจากอาคาร
     5.2 การประกาศผลสอบภาควิชาการ ประกาศผลสอบผ่านเว็บไซต์ www.mtts.ac.th และ www.mtts-admission.job.thai.com ในวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. และประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ เรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 0900 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการ ศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ เพื่อทราบกำหนดการตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา (การดูประกาศผลสอบผู้สมัครไม่ต้องมาด้วยตนเองก็ได้)
     5.3 กํารตรวจร่างกาย การสอบพลศึกษา และสัมภาษณ์ ท่วงทีวําจํา (วันที่ 14,15,16 มีนาคม 2559) ผู้สอบผ่านภาควิชาการรายงานตัว พร้อมจ่ายเงินค่าตรวจร่างกาย จ่ํานวน 600 บาท ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 0900 น. และตรวจเลือด, ปัสสาวะ,เอกซเรย์ ในวันเดียวกัน เวลา 0900 น. ถึง 1200 น. ณ อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สำหรับการสอบ พลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจาและตรวจร่างกาย จะด าเนินการในวันอังคารที่ ๑๕ และวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐ น.
ถึง 1600 น. (เตรียมกางเกงกีฬาขาสั้นมาด้วย) รายละเอียดอื่น ๆ มีดังนี้
          5.3.1 การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย จำนวน 4 สถานีประกอบด้วย ดึงข้อ ลุกนั่งใน 2 นาที ดันพื้นใน 2 นาทีและวิ่ง 800 เมตร (ตามผนวก ค)
          5.3.2 การสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา เป็นการตรวจสอบบุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ไหวพริบปฏิภาณ ความสมบูรณ์ และความสมส่วนของร่างกาย
          5.3.3 การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจรูปร่างลักษณะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมทั้งการตรวจโรคที่ขัดต่อการศึกษา และการเข้ารับราชการทหาร (ตํามผนวก ง)
หมายเหตุ: - ผู้สมัครที ผ่านการสอบภาควิชําการแล้ว ขาดสอบพลศึกษํา และสัมภาษณ์ท่วงทีวาจาหรือขาดการตรวจร่างกาย ให้ถือว่ําผู้สมัครสอบสละสิทธิ์
                 - ในวันที 15,16 มีนําคม 2559 แบ่งผู้สอบผ่านภาควิชาการเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละวันจะมีการสอบพลศึกษา สัมภาษณ์ท่วงทีวาจา จ่ํานวน 1 กลุ่ม และตรวจร่างกาย จ่ํานวน 1 กลุ่ม การแบ่งกลุ่มจะแจ้งให้ทราบ ในวันประกาศผลสอบภาควิชาการ ผ่านทํางเว็บไซต์
     5.4 การประกาศผลสอบรอบสุดท้าย
          5.4.1 จะประกาศผลสอบเรียงตามลำดับหมายเลขสมัครสอบ อย่างเป็นทางการใน วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1400 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.4.2 ผู้สอบได้และผู้สอบได้สำรองนำบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง และลงชื่อรับทราบต่อคณะกรรมการในวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 1500 น. พร้อมรับเอกสารทำสัญญาณ ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร และฟังคำชี้แจงในการทำสัญญา เวลา 1500 น. หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ (หากผู้ที่สอบได้หรือผู้ที่สอบได้สำรองไปดำเนินการด้วยตนเองไม่ได้ ให้ผู้แทนหรือผู้ปกครองนำบัตรประจำตัวสอบไปดำเนินการแทนได้)
          5.4.3 ผู้ที่สอบได้สำรองจะประกาศผลเรียงตามลำดับคะแนน หากมีบุคคลตัวจริงสละสิทธิ์จะเรียกบุคคลสำรองตามที่ประกาศไว้เข้าทดแทนตามลำดับ โดยให้ฟังผลการเรียกเพื่อมาแทนผู้สละสิทธิ์ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2549 เวลา 1600 น. ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     5.5 สถานที สอบ (ผนวก จ)
          5.5.1 การสอบภาควิชาการ สอบที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
          5.5.2 การตรวจร่างกาย ตรวจที่อาคารกองพยาบาล โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.3 การสอบสัมภาษณ์ สอบที่อาคารแผนกวิชาพื้นฐาน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
          5.5.4 การสอบพลศึกษา สอบที่อาคารกรมนักเรียน โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

6. การทำสัญญา
     ผู้สมัครสอบที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร จะต้องทำสัญญา ณ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ในวันพุธที่ 23 และวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. และบุคคลสำรองทำสัญญาในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 เวลา 0800 น. ถึง 1600 น. โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
     6.1 ผู้สอบได้ให้นำผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง พร้อมเอกสารที่ ทางราชการกำหนดและค่าใช้จ่ํายตามที่ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร แจ้งให้ทราบ มาด่ําเนินการทำสัญญา ในวัน เวลา ที่ ก่ําหนด
     6.2 คุณสมบัติของผู้ปกครอง
          6.2.1 ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย และยินยอมรับผู้สมัครสอบไว้ในปกครองโดยแท้จริง และยอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.2 ผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้
          6.2.3 ผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของทางราชการ มาแสดงในวันทำสัญญา และถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.3 คุณสมบัติของผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง
          6.3.1 ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ หรือข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ ระดับ 3 ขึ้นไป
          6.3.2 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองที่สมรสแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสให้ทำสัญญายอมรับพันธกรณีที่ทางราชการกำหนดไว้(วันทำสัญญาไม่ต้องนำคู่สมรสไปด้วยก็ได้)
          6.3.3 ผู้ค้ำประกันผู้ปกครองต้องนำบัตรประจำตัวข้าราชการไปแสดงในวันทำสัญญาและถ่ายสำเนา หน้า - หลัง ไปด้วย จำนวน 2 ฉบับ
     6.4 ผู้ปกครองและผู้ค้ำประกันผู้ปกครองจะเป็นบุคคลเดียวกันไม่ได้
     6.5 พระภิกษุหรือนักบวชในศาสนาใด ๆ เป็นผู้ปกครอง หรือ ผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ไม่ได้

7.การหมดสิทธิ์สอบ
     7.1 ผู้หมดสิทธิ์ในการสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนช่ํางฝีมือทหาร คือ
          7.1.1 ผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 และมีขนาดพิกัด ความสมบูรณ์ของร่างกายไม่ได้ตามเกณฑ์
(ตํามผนวก ง)
          7.1.2 หลักฐานเอกสารตามข้อ 4.4 อย่างใดอย่างหนึ่งไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเท็จ
     7.2 ผู้หมดสิทธิ์ ในการสอบคัดเลือก คือ
          7.2.1 ผู้ที่ทุจริตและ/หรือ ส่อเจตนาทุจริตในเวลาสอบ
          7.2.2 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ ดังนี้.
               7.2.2.1 เข้าสอบช้ากว่ากำหนดเวลาที่เริ่มต้นสอบ เกิน 30 นาที หมดสิทธิ์เข้าห้องสอบ
               7.2.2.2 ห้ามนำเอกสาร อุปกรณ์การคำนวณ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ
               7.2.2.3 ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
               7.2.2.4 ห้ามพูดคุย หรือปรึกษา หากสงสัยให้ยกมือถามกรรมการเท่านั้น
               7.2.2.5 ห้ามออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่คณะกรรมการคุมสอบกำหนด
               7.2.2.6 ห้ามนำปัญหาสอบออกนอกห้องสอบ
     7.3 ผู้หมดสิทธิ์ในการท่ําสัญญาเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือ
          7.3.1 ผู้ซึ่งปรากฏภายหลังว่าต้องหมดสิทธิ์ตามข้อ 7.1 หรือ 7.2
          7.3.2 ผู้ที่ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.2 ถึง 6.5
          7.3.3 ผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาตามวัน เวลา ที่กำหนด
     7.4 ผู้หมดสิทธิ์ในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร คือผู้ที่ ไม่ไปรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ตามก่ําหนด
     7.5 การหมดสิทธิ์ภายหลังเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหารแล้ว คือการที่ รร.ชท. สามารถตรวจสอบและพบว่ามีการด่ําเนินการทางทุจริตหรือร่วมด่ําเนินการทางทุจริตในการเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร ทุกกรณี

8. การรายงานตัวเข้าเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     รายงานตัวที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารในวันอาทิตย์ ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 0900 น.(หากไม่มารายงานตัวตามที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ตามข้อ 7.4) และให้ผู้สอบได้นำเอกสารและสิ่งของเครื่องใช้มาด้วย (จะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบสุดท้าย)

9. ค่าใช้จ่ายในการเข้าศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
     การศึกษาในโรงเรียนช่างฝีมือทหาร นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายขั้นต้น โดยประมาณ ดังต่อไปนี้
     ชั้นปีที่ 1 ภาคต้น ประมาณ         46680  บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350    บาท
     ชั้นปีที่ 3 ภาคต้น ประมาณ         2950    บาท
                   ภาคปลาย ประมาณ     1350   บาท


10. สิทธิและเงื่อนไขของการเป็นนักเรียนช่างฝีมือทหาร
     นักเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นนักเรียนประเภทอยู่ประจำ มีสิทธิและเงื่อนไขระหว่างศึกษาและเมื่อสำเร็จการศึกษา ดังต่อไปนี้
     10.1 ระหว่างเข้ารับการศึกษา
          10.1.1 เรียน วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ระหว่างเวลา 0800 น. ถึง 1630 น.
          10.1.2 ทางราชการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 111 บาท
          10.1.3 ทางราชการจ่ายค่าวัสดุฝึกให้
          10.1.4 มีที่พักในโรงเรียนให้ระหว่างศึกษา
          10.1.5 ให้การรักษาพยาบาล ฟรี
     10.2 เมื่อส่ําเร็จการศึกษา
          10.2.1 จะได้รับคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
          10.2.2 ทางราชการจะบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศกองบัญชาการกองทัพไทย หรือส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม อัตราเงินเดือนขั้นต้นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
          10.2.3 สามารถเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ได้โดยขออนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดที่รับราชการ

11. ข้อผูกพันกับทางราชการ
     11.1 ในระหว่างศึกษา ถ้าลาออก หรือถูกปลดออก ผู้ปกครอง หรือผู้ค้ำประกันผู้ปกครอง จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการตามสัญญา
     11.2 เมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้สมัครสอบจะต้องรับราชการ หรือทำงานในส่วนราชการหรือองค์การในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือตามความเห็นชอบของกระทรวงกลาโหม ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ศึกษาถ้าลาออก หรือต้องออกจากราชการก่อนกำหนดนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ค้ำประกัน จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ทางราชการตามสัญญา ที่กองบัญชาการกองทัพไทย กำหนด

แหล่งที่มาโรงเรียนช่างฝีมือทหาร โรงเรียนช่างฝีมือทหาร