Disable copy

Tuesday 29 August 2017

การใช้คำในภาษาไทย สำหรับสอบเข้าเตรียมทหาร โรงเรียนเหล่าทัพ นายเรือ นายร้อยตำรวจ นายเรืออากาศ

การใช้คำในภาษาไทย


ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้คำ

รู้จักใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับของการสื่อสาร
ฐานะของบุคคลที่สื่อสารกันรวมทั้งโอกาสและกาลเทศะในการสื่อสารเป็นสิ่งกำหนดให้ระดับของภาษาที่ใช้สื่อสารมีความลดหลั่นต่างๆกันไป ถ้าใช้คำผิดระดับอาจทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผลหรือถึงแก่ล้มเหลวก็ได้การจัดระดับของภาษาแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับคือ

1 ระดับพิธีการ 2 ระดับทางการ 3 ระดับกึ่งทางการ 4 ระดับสนทนา 5 ระดับกันเอง

ในการสื่อสารของคนเรานั้นฐานะของผู้สื่อสารโอกาสกาละเทศะในการสื่อสารอาจต่างกัน ผู้สื่อสารอาจมีฐานะที่เสมอกันสูงหรือต่ำกว่ากันเช่น สื่อสารในฐานะเพื่อนกับเพื่อน ครูกับลูกศิษย์ บุตรกับบิดามารดา ผู้ขายกับผู้ซื้อ โอกาสและกาละเทศะในการสื่อสารก็อาจต่างกันเช่น การสื่อสารในโอกาสลำลองก็ควรใช้ภาษาระดับสนทนาหรือกันเองการสื่อสารในระดับที่ประชุมควรใช้ภาษาระดับทางการ การสื่อสารในที่สาธารณะในงานพิธีควรใช้ภาษาระดับพิธีการหรือทางการ ฯลฯ
การใช้คำหยาบนั้นต้องระลึกไว้เสมอว่าเป็นคำที่ระคายหู ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีแก่ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง สำนวนที่หยาบและคำหยาบไม่ควรนำมาใช้ในที่สาธารณะและทางสื่อมวลชน เพราะภาษาเป็นเครื่องสะท้อนถึงจิตใจและความคิดซึ่งความคิดที่ดีงามจะสะท้อนเป็นภาษาที่งดงามและน่าฟัง
รู้จักใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน
คำที่มีความหมายคล้ายกันมีอยู่มากในภาษาไทยได้แก่ คำมูลคำซ้อนคำประสมและคำศัพท์ต่างๆ ที่ได้รับมาจากภาษาอื่นหรือการผูกคำขึ้นใช้โดยวิธีสมาสคำ
     1. ข้อมูล เช่น แกะ แคะ แงะ แทะ มีความหมายร่วมกันว่าทำให้เผยออกมา
     2.คำซ้อน เช่น อดทน,อดกลั้น

     - อดทน แปลว่าอดเอาทนเอามักใช้กับการกระทำเช่นเขาอดทนทำงานนั้นจนสำเร็จ
     - อดกลั้น แปลว่า สะกดใจไว้ได้มักใช้กับความรู้สึกต่างๆเช่นเขาอดกลั้นไว้อย่างเต็มที่ไม่แสดงความกดออกมา

     ขัดแย้ง,โต้แย้ง
     - ขัดแย้ง แปลว่าไม่ลงรอยกันซึ่งอาจจะเป็นการขัดแย้งทางความคิด คำพูดหรือการกระทำก็ได้ เช่นความคิดเห็นหรือฝ่ายหนึ่งพูดแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยจึงโต้แย้งขึ้นเช่นเขาลุกขึ้นโต้แย้งทันทีเมื่อประธานในที่ประชุมกล่าวจบ

     รบเร้า,รบกวน
     - รบเร้า แปลว่าวิงวอนอย่างเร่งร้อนมีความหมายไปในเชิงขอร้อง เช่นน้องรบเร้าคุณพ่อให้พาไปเชียงใหม่
     - รบกวน แปลว่า ทำให้เกิดความรำคาญทำให้เกิดความเดือดร้อน มักจะมีความหมายในทางที่ไม่ดีนักเช่น ความรู้สึกและร้ายๆรบกวนอารมณ์เขาให้หงุดหงิดมากขึ้นทุกที

     3. คำประสม เช่น

     ใจอ่อน,อ่อนใจ
     - ใจอ่อน แปลว่ายอมง่ายสงสารง่ายเช่นเธออย่าใจอ่อนกับลูกมากนักเลยเดี๋ยวจะเสียเด็ก
     - อ่อนใจ แปลว่า เหนื่อยใจจิตใจเพลียระอาเบื่อเช่นคุณยายอ่อนใจที่จะต้องดูแลหลานซนซนทั้งหมดถึง 5 คนตามลำพัง

     น้ำตา,ตาน้ำ
     - น้ำตา แปลว่าน้ำที่ไหลซึมออกจากนัยตาเช่นถึงเธอจะร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือดก็ไม่สามารถให้มันฟื้นคืนชีวิตกลับมาได้หรอก
     - ตาน้ำ แปลว่าทางน้ำใต้ดินที่มีน้ำไหลไม่ขาดสายเช่นขุดให้ลึกกว่านี้อีกสักนิดนึงเราอาจจะเจอตาน้ำได้

     4.คำศัพท์อื่นๆเช่น
     บุคลิกภาพ,บุคลากร ,บุคคล และ บุคลิกลักษณะ
     คำเหล่านี้มีความหมายร่วมกันว่าจำเพาะคนบุคคล
     - บุคลิกภาพ แปลว่าสภาพนิสัยจำเพาะของแต่ละคนเช่นนักเรียนควรสร้างบุคลิกภาพให้ดีเป็นที่น่านับถือแก่บุคคลทั่วไป
     - บุคลากร แปลว่าผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานเช่นบุคลากรของบริษัทนี้เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง
     - บุคคล แปลว่าคนสิ่งที่มีชีวิตซึ่งมิใช่สัตว์หรือพืชสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเขาเป็นบุคคลที่พวกเราไม่พึงประสงค์
     - บุคลิกลักษณะ- แปลว่าลักษณะจำเพาะตัวของแต่ละคนเช่นสุชาติมีบุคลิกลักษณะเป็นผู้นำที่ดีได้

     สมรรถนะ,สมรรถภาพ
     สมรรถนะ กับสมรรถภาพ หมายถึงความสามารถ
     - สมรรถนะ แปลว่าความสามารถของเครื่องยนต์กลไกหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเช่นเครื่องยนต์รุ่นนี้มีสมรรถนะในการขับเคลื่อนสูง
     - สมรรถภาพ แปลว่าความสามารถของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการทำงานต่างๆเช่นถึงเขาจะอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเขาก็ยังมีสมรรถภาพทางร่างกายดีกว่าคนอื่นในกลุ่ม

รู้จักใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ
ความรู้สึกที่ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 ทางนี้ปกติแล้วมีคำใช้มากมายในภาษาเช่น
     1.ทางตา มีคำที่บอกลักษณะของสีรูปร่างระยะทางความเข้มความแข็งแรงเช่นเหลืองสว่างมืดแข็งแรงกว้างขวางใหญ่โตสูงต่ำใกล้ไกล
     2. ทางหู มีคำที่บอกลักษณะของเสียงเช่นแหลมหวานทุ่มค่อยก้อง อู้อี้ แหบ ,ฯลฯ
     3. ทางจมูก มีคำที่บอกลักษณะของกลิ่นเช่นฉุนเหม็นหอมฟุ้งมหืนทคาว ฯลฯ
     4. ทางลิ้น มีคำที่บอกลักษณะของรถเช่นเปรี้ยวหวานมันเค็มเฝื่อนฝาด ฯลฯ
     5. ทางกาย มีคำที่บอกลักษณะของความรู้สึกสัมผัสเช่นเย็นร้อนอ่อนนุ่มละมุนแข็งตึง ฯลฯ
     6. ทางใจ มีคำที่บอกลักษณะของความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจเช่นกลัวกล้าคึกคักสนุกโลกโกรธเกลียดสงสารเศร้าซึมซึ้งสุขรื่นเริงแจ่มใส ฯลฯ

คำเหล่านี้เมื่อใช้ในประโยคจะช่วยเน้นความหมายให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เกิดจินตนาภาพหรือให้ความรู้สึกมากขึ้นเป็นพิเศษ แล้วถ้ารู้จักเลือกใช้คําวิเศษณ์มาประกอบให้เหมาะสม รวมทั้งใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบที่เหมาะสมก็จะเกิดความงามของภาษามากยิ่งขึ้นเช่น
     - ทุ่งหญ้าเขียวขจีทำให้พวกเรารู้สึกสดชื่นอย่างประหลาด
     - บ้านหลังนั้นใหญ่โตมโหฬารเกินกว่าที่ทุกคนจะเข้าถึง
     - กลิ่นกุหลาบอ่อนๆฟุ้งกระจายไปทั่วห้องบรรยากาศชวนให้รื่นรมย์
     - ผมอาจจะช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้บ้างเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่ลำบากอย่าเกรงใจมากมายไปเลย
     - ฉันเกลียดภาพนั้นจับใจมันดูน่าขยะแขยงโหดร้ายอย่างที่สุด
บุคคลจะรู้จักคำจนสามารถเลือกใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการอ่านมากฟังมากสังเกตคำที่ได้อ่านได้ฟัง นอกจากนี้ยังต้องใช้พจนานุกรมจนเป็นนิสัยเพื่อดูความหมายของคำ รู้จักสะสมถ้อยคำสังเกตวิธีใช้คำ และฝึกหัดเขียนคำให้สม่ำเสมอ การรู้จักคำนั้นเกิดจากการสะสมโดยต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน เมื่อเรารู้จักคำว่าพอเราก็สามารถนำคำเหล่านั้นมาใช้ในโอกาสต่างๆได้ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจคำที่เลือกใช้ได้ตรงความต้องการตรงตามความหมายและตรงตามความนิยม



No comments:

Post a Comment