จำนวนธรรมชาติ และ จำนวนเต็ม (Natural Numbers and Integers)
ในทางพีชคณิต เราสามารถระบุจำนวน แบบเฉพาะเจาะจงได้ ในกรณีนี้ เราจะพูดถึง เซต ของจำนวน อยู่ 2 ประเภทคือ จำนวนธรรมชาติ และจำนวนเต็ม โดยเราพิจารณาเซตเฉพาะได้ดังต่อไปนี้
เซตของจำนวนนับ $\{1,2,3,4,\dots \}$ ในทางคณิตศาสตร์ เซต ดังกล่าวนั้นจะถูกเรียกว่า จำนวนธรรมชาติ (natural numbers) และเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ $N$ เซตของ จำนวนเต็ม (integers) คือเซตที่รวมจำนวน ธรรมชาติ จำนวนลบของจำนวนธรรมชาติ และ ศูนย์ โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์แทนคือ $I$
$I =\{\dots, -3,-2,-1,0,1,2,3,\dots \}$
ข้อสังเกตระหว่าง เซต สองทั้งสองคือ เซตของ จำนวนธรรมชาตินั้น เป็นสับเซตของ เซตของจำนวนเต็ม
$N\subset I$
ในหัวข้อนี้ เราจะมาพูดถึง กฎที่ครอบคลุมการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ของจำนวนเต็ม อย่างแรกที่เราจะพูดถึงกันก็คือ แนวความคิดเรื่อง ค่าสมบูรณ์ (absolute value)
ค่าสมบูรณ์ของตัวเลข $x$ เขียนแทนได้ด้วย $|x|$ และค่าเท่ากับ
- $|x|$ คือ $x$ ถ้า มีค่ามากกว่าหรือ เท่ากับ ศูนย์
- $|x|$ คือ $-x$ ถ้า $x$ มีค่าน้อยกว่า ศูนย์
ค่า สมบูรณ์ของตัวเลขนั้น จะมีค่าเป็นบวกหรือ เป็นศูนย์ของตัวเลขนั้น โดยค่าสมบูรณ์ของจำนวนที่เป็นลบ นั้น จะถูกเปลี่ยนเครื่องหมายให้เป็น บวกเสมอ เช่น
- ค่าสมบูรณ์ ของ $3$ คือ $3$
- ค่าสมบูรณ์ของ $0$ คือ $0$
- ค่าสมบูรณ์ของ $-2$ คือ $2$
กฎพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่สัมพันธ์กับจำนวเต็ม หรือกฎโดยทั่วไปที่ใช้ตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม คือ
กฎข้อที่ 1 | ตัวอย่าง |
---|---|
การบวก จำนวนเต็ม สองจำนวนหรือมากกว่า และมีเครื่องหมายเดียวกัน ผลลัพธ์ของการบวกนั้น จะได้ค่าเครื่องหมาย ที่เหมือนกับจำนวน เริ่มต้น |
$(-27)+(-6)=-33$ $-6+(-5)+(-9)=-20$ |
กฎข้อที่ 2 | ตัวอย่าง |
---|---|
การบวก จำนวนเต็ม สองจำนวนที่ มีเครื่องหมาย ต่างกัน ถ้าค่าสมบูรณ์ของตัวเลขที่น้อยกว่า ลบออกจากค่าสมบูณ์ ของตัวเลขที่มากกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ จะได้เครื่องหมายของเดียวกันกับ ตัวเลขของค่าสมบูรณ์ที่มากกว่า |
-23+15=-8$ $45+(-29) =16$ |
ตัวอย่าง
จงบวกจำนวนเต็มดังต่อไปนี้
$(-21)+7+(-8)+(-13)+12 $
อันดับแรกทำการบวก ตัวเลขที่เป็นจำนวนลบ โดยใช้ค่าสมบูรณ์ของจำนวนลบนั้นบวกกัน
$21+8+13 = 42$
ดังนั้น
$(-21)+(-8)+(-13) = -42$
ทำการบวกจำนวนตัวเลขที่เป็นบวก
$7+12=19$
ใช้กฎข้อที่ 2 $42-19 = 23$ ดังนั้น
$(-42)+19=-23$
ก่อนที่จำทำการลบจำนวนเต็ม เราควรเข้าใจความหมายของ อินเวอร์สของจำนวน (inverse of a number) อินเวอร์สการบวก (additive inverse) คือจำนวนที่มีเครื่องหมายตรงกันข้ามอยู่ด้านหน้า ของจำนวนนั้น ตัวอย่างเช่น additive inverse ของ $7$ คือ $-7$ additive inverse ของ $-5$ คือ $5$ ข้อสังเกต additive inverse ของ $0$ คือ $0$ ดังนั้นค่า $0$ จึงไม่ใช่จำนวน บวกหรือ จำนวนลบ การบวกจำนวน กับ additive inverse ของจำนวนนั้น จะมีค่าเท่ากับ $0$ ตัวอย่าง $6+(-6)=0 , (-11)+11=0$ และ $0+0=0$ ถ้ามีเครื่องหมายลบ $-$ อยู่หน้าจำนวน additive inverse จะต้องทำการเปลี่ยนเครื่องหมายของจำนวน additive inverse เช่น $-(-8)=8$ คือ additive inverse ของ $-8$ ดังนั้น $8$ คือ additive inverse ของ $-8$ หรือ $-(-8)=8$ สามารถเขียนได้ในรูปแบบทั่วไปคือ
$-(-a)=a$ เมื่อ $a$ เป็นจำนวนใดๆ
กฎข้อที่ 3 | ตัวอย่าง |
---|---|
การลบจำนวนเต็ม โดยการบวกจำนวน additive inverse ของจำนวนนั้น เช่น ถ้า $a$ และ $b$ คือจำนวนเต็ม ดังนั้น $a-b=a+(-b)$ |
$7-(-12)=7+12=19$ $-3-22 =-3+(-22)=-25$ |
ถ้าเรามีจำนวนเต็ม ที่ดำเนินการบก หรือ ลบกัน เราสามารถ เปลี่ยนทั้งหมดนั้นให้เป็นการบวกได้ โดยใช้กฎข้อที่ 3 และประยุคก์ กฎในการบวกเลขของจำนวนเต็ม
ตัวอย่าง
ดำเนินการ บวกและ ลบจำนวนดังต่อไปนี้
$-8-19+29-(-40)+(-11)$
เปลี่ยน $19$ ไปเป็น $(-19)$ และ $-40$ ไปเป็น $40$ และเปลี่ยนการดำเนินการ ก่อนที่จะทำการบวกกัน
$-8-19+29-(-40)+(-11)=-8+(-19)+29+40+(-11)$
$= -8+(-19)+(-11)+29+40$
$= -38+69$
$=31$
เมื่อเราทำการบวกตัวเลข เราสามารถใช้คำเรียกการบวกนั้นได้ว่า terms เช่น $7+(-16)=-9$ terms ก็คือ $7$ และ $-16$ ส่วน $-9$ นั้นเราจะเรียกว่า ผลรวม (sum) แต่เมื่อเราทำการคูณ ตัวเลขที่เราทำการคูณ จะถูกเรียกว่า factors เช่น $5*8=40$ ดังนั้น factors ก็คือ $5$ และ $8$ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะถูกเรียกว่า ผลคูณ (product)
กฎข้อที่ 4 | ตัวอย่าง |
---|---|
ผลคูณของจำนวนเต็มสองจำนวน ถ้าเครื่องหมายเหมือนกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าเป็นบวก |
$16\times 5 =80$ $(-3)\times (-14)=42$ |
กฎข้อที่ 5 | ตัวอย่าง |
---|---|
ผลคูณของจำนวนเต็มสองจำนวน ถ้าเครื่องหมายตรงกันข้ามกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะมีค่าเป็นลบ |
$13\times (-3) = -39$ $(-4)\times 16 =-64$ |
แต่เมื่อเรา ทำการคูณ จำนวนเต็มมากกว่า สองจำนวน เราจะพิจารณาโดย ทำการคูณทีละสองจำนวนในแต่ละครั้ง โดยจากทางซ้ายมือก่อน และผลคูณของ แต่ละครั้งนั้น ก็จะนำไปคูณกับตัวเลขถัดไป จน การคูณนั้นเสร็จสิ้น
ตัวอย่าง
จงทำการคูณตัวเลขดังต่อไปนี้
$(-5)\times (3)\times (-2)\times (-4)$
$(-15)\times (-2)\times (-4)$
$(30)\times (-4)$
$-120$
จากการดำเนินการของตัวอย่างที่กล่าวมา เราสามารถตรวจจับรูปแบบ และทำนายเครื่องหมายของผลคูณได้ดังนี้
กฎพื้นฐาน ในข้อที่ 4 และ 5 | ตัวอย่าง |
---|---|
ถ้าตัวเลขของ factors ที่เป็นลบ นั้นมีจำนวนเป็นจำนวนคู่ ผลคูณที่ได้ นั้นจะมีค่าบวก เสมอ |
$(-5)(11)(-2) = 110$ $(-2)(3)(-5)(-1)(-5) = 150$ $(-2)(-2)(-2)(-2)(-2)(-2)=64$ |
ถ้าตัวเลขของ factors ที่เป็นลบ นั้นมีจำนวนเป็นจำนวนคี่ ผลคูณที่ได้จะมีค่าเป็น ลบเสมอ | $(-12)(9)=-108$ $(1)(-4)(-7)(2)(-1)=-56$ (-1)(-2)(-3)(-4)(-5)=-120 |
ข้อสังเกต factors ของจำนวนที่เป็นบวก นั้นไม่มีผลกระทบ กับเครื่องหมายของผลคูณ
กฎข้อที่ 6 | ตัวอย่าง |
---|---|
ผลคูณของจำนวนศูนย์ กับจำนวนเต็มอื่นๆ มีค่าเท่ากับ $0$ เสมอ | $(-45)(0)=0$ $(0)(-20)(-12)(7)=0$ |
เมื่อ factors ทั้งหมดของผลคูณนั้น เป็นตัวเลขเดียวกัน เราสามารถเขียนให้สั้นลงได้ด้วย ตัวเลขยกกำลัง (power notation) หรือ เอกซ์โพเนนเซียล (exponential notation) เช่น $2.2.2.2.2$ เราสามารถเขียนได้เป็น $2^5$ เมื่อ $2$ เป็น factor การคูณ และเราจะเรียกว่า ฐาน (base) และ $5$ นั้นคือจำนวนของ factors จะถูกเรียกว่า กำลัง (power) หรือ เอกซ์โพเนน (exponent) ตัวเลขที่แสดง $2^5$ จะอ่านว่า สอง ยกกำลัง ห้า เช่น
$3.3.3.3 = 3^4 = 81$ อ่านว่า สามยกกำลังสี่
$5.5.5 = 5^3 = 125$ อ่านว่า ห้ายกกำลังสาม
สามารถเขียนในรูปทั่วไปได้ดังนี้
$a^n =a.a.a.\dots a$ เมื่อ $a$ จำนวนใดๆ และ $n$ คือจำนวนธรรมชาติ
ข้อสังเกตุ
เมื่อฐานเป็นลบ เราสามารถใส่เครื่องหมายวงเล็บได้ที่เลขฐาน และเขียน เลขยกกำลังไว้ด้านนอกของ วงเล็บ พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ $(-5)^2=(-5)(-5) = 25$ ฐานคือ $-5$ ใน $-5^2 = -(5.5)=-25$ ดังนั้นเลขยกกำลัง $2$ นั้นจะยกกำลังเฉพาะเลข $5$ เท่านั้น ไม่ได้ยกกำลังเครื่องหมายลบ ที่อยู่หน้าเลขฐานด้วย เราเลยเขียนเครื่องหมายลบไว้หน้าคำตอบหลังจากเราได้ผลของ $5^2$ แล้ว
ตัวอย่าง
1. $(-13)^2$
$(-13)^2 =(-13)(-13) = 169$
2. $-6^3$
$-6^3 = -(6.6.6) = -216$
ในการหารนั้น $6\div 2 =3$ เราจะเรียกว่า การหาร (dividend) โดย $2$ นั้นเรียกว่า ตัวหาร (divisor) และ $3$ นั้นเรียกว่า ผลหาร (quotient) ดังนั้นเราจึงพูดได้ว่า $6$ นั้นถูกหาร ด้วย $2$ และในหัวข้อนี้ เราจะพิจารณาเฉพาะ กรณี จำนวนเต็มหนึ่ง จำนวน ถูกหารด้วยจำนวนอื่นๆ
กฎข้อที่ 7 | ตัวอย่าง |
---|---|
ผลหารของจำนวนเต็ม สองจำนวนที่มีเครื่องหมายเหมือนกัน จะมีเครื่องหมายเป็นบวก |
$48\div 3=16$ $-56/(-2)=28$ |
กฎข้อที่ 8 | ตัวอย่าง |
---|---|
ผลหารของจำนวนเต็ม สองจำนวนที่มีเครื่องหมายต่างกัน จะมีเครื่องหมายเป็นลบ |
$-45/15 = -3$ $52\div (-4) = -13$ |
เราสามารถตรวจสอบคำตอบ จากการหาร โดยกำหนดได้จาก
(ตัวที่ถูกหารหาร)= (ผลหาร). (ตัวหาร)
เช่น เมื่อ $52\div (-4) = -13 $ เป็นจริง เพราะว่า $52=(-13)(-4)$
กฎข้อที่ 9 | ตัวอย่าง |
---|---|
1. $0$ หารด้วยจำนวนเต็มใดก็ตามที่ไม่ใช่ $0$ ผลหารทีได้ จะมีค่าเท่ากับ $0$ |
$0\div 5 =0$ $0/(-24) = 0$ |
2. เราไม่สมารถนำตัวเลขใดๆ มาหารด้วย $0$ ได้ | $7\div 0$ ไม่นิยาม $0/0$ ไม่นิยาม |
ดังนั้น เราตรวจสอบจากกระบวนการบางอย่างได้ $(-24)(0)=0$ เราสามารถเขียนใหม่ได้ว่า $0/(-24) =0$ ในทางกลับกัน ถ้าเราพยายามหาคำตอบของ $7\div 0$ เราก็เจอกับปัญหามากมาย และ มีข้อผอดพลาด เช่น $7\div 0 = 0$ ตรวจสอบ จะได้ $(0).(0)\neq 7$ เราจะเห็นว่า ไม่เป็นความจริง หรือเป็นไปไม่ได้ที่เราจะหาคำตอบจาก $0/0$ ดังนั้น $( ).0 =0$ ไม่ว่าตัวเลขใดๆก็ตามที่ใส่เข้าไปในวงเล็บ แล้วเราหาคำตอบของตัวเลขนั้น จะได้ $0/0=()$ ดังนั้นมันไม่มีคำตอบ เราจึงพูดได้ว่า การหารตัวเลขใดๆก็ตามด้วย $0$ หรือ $0/0$ นั้น ไม่นิยาม
หลีกเลี่ยงความผิดพลาดดังต่อไปนี้
ไม่ถูกต้อง | ถูกต้อง |
---|---|
1. จำนวนลบ สองจำนวนสามารถสร้างจำนวนที่เป็นบวกได้ | ผลบวกของจำนวนลบสองจำนวน คือ จำนวนลบ $(-5)+(-8) = -13$ ผลคูณ หรือ ผลหาร ของ จำนวนลบ สองจำนวน นั้นมีค่าเป็นบวก $(-12).(-8) = 96$ $(-54)\div (-3) = 18$ |
2. $-3^2 = 9$ | $(-3)^2 = (-3).(-3) = 9$ |
3. $5/0 = 0$ | $5/0$ นั้นไม่นิยาม |
4. $0/0 = 0$ | $0/0$ นั้นไม่นิยาม |
No comments:
Post a Comment