Disable copy

Saturday 11 February 2017

[PDF] ข้อสอบวิชาภาษาไทย ข้อสอบเตรียมทหาร ข้อสอบนายร้อย สอบเข้าทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(นายร้อย จปร.) ประจำปี 2535

ข้อสอบวิชาภาษาไทยสำหรับสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก (นายร้อย จปร. ) จำนวน 50 ข้อ ประจำปี พ.ศ. 2535

    ตัวอักษรสีส้มคือเฉลย

ดาวน์โหลด ข้อสอบเตรียมทหาร.pdf ฟรี

วิชาภาษาไทย พ.ศ. 2535

ขอร้องว่าอย่าโหลดแล้วเอาไปพิมพ์เพื่อจำหน่ายให้คนอื่นนะครับ แชร์ให้คนอื่น หรือโหลดไปให้คนอื่นดีกว่าครับ
ฝากกดแชร์ คอมเมนต์เพื่อเป็นกำลังใจด้วนะครับ




ผิดพลาดประการใดหรือไม่เหมาะสมฝากแจ้งผม ผ่านทาง คอมเมนต์นะครับ

วิธีการดาวน์โหลดกดที่มุมขวาบนของ PDF นะครับ แล้วมันจะไปยังหน้า เวปแอพ PDF อีกอันหนึ่งแล้วจะมีปุ่มกดให้ดาวน์โหลด(Download)ครับ 

1. ข้อใดเป็นลักษณะที่สำคัญของภาษาไทยน้อยที่สุด
             1. เป็นภาษาคำโดด
             2. มีตัวสะกดตามมาตรา
             3. มีตัวอักษรและอักขรวิธีเป็นของตนเอง
             4. สร้างคำใหม่ด้วยวิธีประสมคำ
             5. เสียงวรรณยุกต์ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป

2. ความในข้อใดถูกต้องที่สุด
             1. ทุกชาติทุกภาษา จำเป็นต้องมีตัวอักษรเป็นของตัวเอง
             2. เสียงในภาษาหมายถึง การออกเสียงในเวลาพูดเท่านั้น
             3. การเคลื่อนไหวของอวัยวะไม่ถือว่าเป็นภาษาเพราะสื่อความไม่ชัดเจน
             4. ภาษาไม่เป็นสื่อความหมายเฉพาะในหมู่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ด้วย
             5. เครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้คนในสังคมเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง

3. ภาษาไทยดั้งเดิมเริ่มคำโดด            อวยประโยชน์สื่อความได้งามสม
    ต่อมาเพิ่มหลายพยางค์ต่างนิยม      อีกคิดสร้างคำประสมและคำซ้อน
    จากคำประพันธ์ข้างต้นให้ข้อคิดแก่นักเรียนอย่างไร
             1. ภาษาไทยมีคำพยางค์เดียวโดดๆ เท่านั้น
             2. ปัจจุบันภาษาไทยมีแต่คำประสม
             3. ปัจจุบันภาษาไทยมีแต่คำประสมและคำซ้อน
             4. ภาษามีการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนวัฏจักรของชีวิต
             5. ภาษาไทยมีคำหลายพยางค์เพราะรับมาจากคำภาษาอื่นๆ

4. ข้อใดเป็นวิธีที่ทำให้ภาษาขยายตัวได้มากที่สุด
             1. การแปรความ
             2. การเปลี่ยนเสียง
             3. การเปลี่ยนตำแหน่งคำ
             4. การนำภาษาอื่นมาใช้
             5. การคิดตั้งคำใหม่

5. ภาษาแบ่งตามลักษณะการใช้เป็น 3 ประเภท คือ ภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน ภาษาแบบแผน
ข้อใดไม่ใช่ภาษาปาก
             1. จุดไฟหน่อยซิ มือจะตายอยู่แล้ว
             2. สุนทรีทำหน้าเหม็นบูด
             3. เขาทรายถูกเพื่อนอมเงิน
             4. ชายคนนั้นเดินขึ้นมาบนสถานีตำรวจด้วยอาการของคนหมดแรง
             5. รสช. ไม่กินสีกับนักการเมือง

 ข้อ 6-7 คำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคใดสะกดผิด
6.          1. การบนบาน คือ การอ้อนวอนขอให้ช่วยโดยให้สิ่งตอบแทนเมื่อสำเร็จ
             2. วันนี่้ฝนตกหนักเป็นละอองทั้งวัน
             3. สังคมของมนุษย์เดี๋ยวนี้ ดูจะขาดแคลนคนเมตตาปราณี
             4. เมื่อเธอจะซื้อรถยนต์ จะต้องคำนึงถึงเครื่องอะไหล่ด้วย
             5. สมชัยได้รับตำแหน่งใหม่นี้ เพราะความฉลาดปราดเปรื่องที่เขามีอยู่

7.          1. โอยัวะ เป็นภาษาจีน แปลว่า กาแฟดำร้อน
             2. ผู้หญิงที่สามีตาย และรำรวยเรียกว่าแม่ม่ายทรงเครื่อง
             3. มูลนิธิสายใจไทย ให้การช่วยเหลือแก่ทหารที่ทุพพลภาพ
             4. วัดมกุฎกษัตริยาราม อยู่ใกล้กระทรวงศึกษาธิการ
             5. ผู้ที่เป็นทหารจะสะดวกสะบายเหมือนพลเรือนไม่ได้

8. ข้อใดใช่ตัวอักษรไทยถ่ายเสียงคำภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
             1. ช็อกโกแลต ปิกนิก คอร์รัปชั่น
             2. เปอร์เซนต์ สะแตมป์ ฟุตบอลล์
             3. เต๊นท์ แบตเตอรี่ ไอศครีม
             4. โปสเตอร์ เน็คไท แท็กซี่
             5. เทคโนโลยี โน๊ต เชิ๊ต

9. คำควบกล้ำต่อไปนี้ คำในข้อใดเขียนผิด
             1. กรุยกราย กลั่นแกล้ง
             2. ขุรขระ ขลุกขลิก
             3. ครึกโครม คลุมเคลือ
             4. ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
             5. พรั่งพร้อม พลุ่งพล่าน

10. ข้อใดเรียงคำถูกต้องตามลำดับการเรียงคำในพจนานุกรม
             1. สุจหนี่ สยุมพร สรรเสริญ เสาวคนธ์
             2. สยุมพร สรรเสริญ สุจหนี่ เสาวคนธ์
             3. โสมนัส เสาวคนธ์ สรรเสริญ สุจหนี่
             4. สรรเสริญ สุจหนี่ สยุมพร โสมนัส
             5. เสาวคนธ์ โสมนัส สรรเสริญ สยุมพร

11. ข้อใดเป็นประโยคความรวมที่มีวิเศษณานุประโยค
             1. ครูดีใจมาก เมื่อสมศรีทำได้เหมือนที่ครูคิด
             2. ม้าตัวที่นายฉุยชอบตายแล้ว 
             3. การเงินของพ่อค้าขายของชำฝืดเคืองมาก
             4. อาหารสำหรับนักเรียนเตรียมทหารอยู่บนรถ
             5. เขาทำให้ฉันกลัวผี

12. คำที่ขีดเส้นใต้ในประโยคใด มิได้มาจากภาษาจีน
             1. บริษัทการบินไทยประกาศขายหุ้น ๆ ละ 60 บาท
             2. พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นคนตงฉินจริงๆหรือ?
             3. ทำอะไรง่วนเชียว ผมเรียกตั้งนานไม่ได้ยินหรือ ?
             4. โรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดได้ทุกแห่งในร่างกายของคนเรา
             5. อย่าลืมใส่ปุ๋ยกล้วยไม้ด้วยนะ

13. กลุ่มคำในข้อใดใช้ไม่เหมือนกับข้ออื่นๆ 
             1. แก้วใบนี้ใช้ปักดอกไม้ไม่ได้
             2. ข้าพเจ้ายินดีช่วยท่านทั้งหลาย
             3. อุตสาหกรรมภาพยนต์การ์ตูนพัฒนาไปมาก
             4. เขาออกกำลังกายตอนเช้าวันอาทิตย์เป็นประจำ
             5. นี่คือผ้าพื้นเมือง

14. คำสมาสที่นิยมว่าถูกแบบแผน และทำให้เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ก็ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่ คือ
              1. คำไทยรวมกับคำบาลี เช่น พลเรือน เทพเจ้า
              2. คำบาลีรวมกับคำบาลี เช่น ปัจฉิมวัย รัฐบาล
              3. คำสันสกฤต รวมกับคำสันสกฤต เช่น ประชาธิปัตย์ อัศจรรย์
                     4. คำบาลีและคำสันสกฤตสมาสกันเช่น วัฒนธรรม กุลสตรี
              5. ข้อ. 2 และ ข้อ. 3

15. ข้อใดบุพบทผิด
              1. ทุกคนควรซื่อสัตว์ต่อหน้าที่ยิ่งกว่าชีวิต
              2. นายเย็นทำงานตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเย็นก็ยังไม่เสร็จสักที
              3. บางครั้งทหารต้องนอนทั้งเครื่องแบบ
              4. หัวหน้ากองทีี่ดีมักแจกจ่ายงานสู่ลูกน้องเสมอ
              5. พ่อเห็นกับตาทีเดียวว่า แม่ซื้อเสื้อตัวนี้กับมือของแม่เอง

16. ข้อใดใช้บุพบท "กับ" ถูกต้อง
              1. เธอย่อมรู้กับใจว่าเธอรักใคร
              2. คุณไม่ควรเห็นกับหน้าผู้ใดแม้แต่สามี
              3. มาลีเสนอบัญชีเงินเดือนใหม่กับผู้บังคับบัญชา
              4. กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง
              5. บุตรกับธิดาเป็นเจ้าภาพการฌาปนกิจศพคูรแม่ ลัดดาวัลย์ บุญแต้ม

17. คำว่า "จน" ในข้อใดเป็นกริยา
              1. ฉันจะรอเขาจนพรุ่งนี้
              2. เราจนก็จริง แต่ไม่เคยคดโกงใคร
              3. เกิดเป็นคนอย่ากลัวจน
              4. คนจนไม่จำเป็นต้องเป็นคนชั่ว
              5. เราอยู่อย่างจนๆ ดีกว่าคดโกงบ้านเมือง

18. คำในข้อใดเป็นคำสมาสทั้งสองคำ
              1. มโหฬาร ผลานิสงส์
              2. สุนทรพจน์ รัฐมนตรี
              3. จุฬาลงกรณ์ มหกรรม
              4. ทันตแพทย์ ประชาธิปไตย
              5. ยุทโธปกรณ์ จราจร

19. จงเลือกคำเชื่อมที่เหมาะสมลงในช่องที่ว่างไว้
              "............. เขาเห็นหนังสือ "ลัดฟ้าล่าวิชาหาอาจารย์" เขา............. สนใจซื้อมาอ่าน ............... เขาชอบบทพระราชนิพนธ์ของ " ทูลกระหม่อมอาจารย์"
              1. พอ.............ก็.........จึง
              2. เมื่อ............ก็.........เพราะ
              3. ตั้งแต่.........ก็.........เพราะ
              4. เวลา...........จึง.......ด้วย
              5. เมื่อ............จึง........ที่

20. คำในข้อใดเป็นคำไทยทุกคำ
              1. ชนิด เผอเรอ ปราดเปรื่อง
              2. ปราณี ดอกจัน อะไหล่
              3. ขโมย ชวา ซากศพ
              4. สลัด เก้าอี้ สับปะรด
              5. เกาเหลา ปิ่นโต โอยัวะ

21. พ่อค้ากักตุนข้าว ข้างจึงแพง
      คำว่า "จึง" เป็นสันธานเชื่อมความประเภทใด
               1. เชื่อมความที่เป็นเหตุเหตุเป็นผลกัน
               2. เชื่อมความคล้อยตามกัน
               3. เชื่อมความที่แบ่งรับรอง
               4. เชื่อมความที่ให้เลือกเอา
                       5. เชื่อมความที่ขัดแย่ง

22. ข้อความใดใช้คำถูกต้องตารมความหมาย
               1. เขารัวกระสุนใส่ข้าพเจ้าหนึ่งนัด
               2. บริเวณนี้มีคนมุ่งดูศพ หนาแน่นมาก
               3. ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ความผิดวันละเล็กวันละน้อย
               4. นักเรียนจะต้องไม่ก้าวร้าวสิทธิของกันและกัน
               5. คนดูแน่นขนัด เจ้าหน้าที่พยายามกีดกัน เท่าไรก็ไม่ได้ผล

23. อัมพรเป็นคนเอางานเอาการจึงประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ยุพินไม่เอาไหนเลยจึงล้มเหลวตลอดมา 
ข้อความนี้มีกี่ประโยค
               1. 2 ประโยค
               2. 3 ประโยค
               3. 4 ประโยค
               4. 5 ประโยค
               5. 6 ประโยค

24. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
               1. มีนักเรียนนายร้อยหลายคนในห้องนี้
               2. คนกินข้าวเป็นประโยค
               3. เขาเกิดในปีที่พ่อเข้ารับราชการ
               4. เป็นการดีที่เธอแสดงกิริยาเช่นนี้
               5. กวีบางท่านใช้ถ้อยคำพื้นๆ อันเป็นที่เข้าใจกันได้ดี ในหมู่ประชาชนที่ด้อยการศึกษา






25. หนังสือที่ผู้อ่าน ควรอ่านให้รู้เรื่องราวทั้งหมดอย่างน้อยหนึ่งเที่ยวและอ่านซ้ำ เฉพาะตอนที่คิดว่า ครูเน้นหรือแนะนำให้อ่านเป็นหนังสือประเภท
                1. ตำราเรียน
                2. หนังสืออ่านในชั้นเรียน
                3. หนังสืออ้างอิง
                4. หนังสือคู่มือ
                5. หนังสืออ่านนอกชั้นเรียน

26. พระบรมราโชวาทที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2428 มิได้พระราชทาน แก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใด
                 1. กรมหลวงจันทบุรีนฤนาท
                 2. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
                 3. กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
                 4. กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
                 5. กรมหลวงปราจิณกิติบดี

27. รายชื่อวรรณกรรมต่อไปนี้ ข้อใดมิใช่ผลงานประพันธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
                 1. ราชาธิราช
                 2. สามก๊ก
                 3. สุภาษิตสอนหญิง
                 4. ลิลิตเพรชมงกุฏ
                 5. อิเหนาคำฉันท์

28. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่งบทละครรำเรื่องพระร่วง คำว่า "แต่ง" เขียนเป็นกิริยาราชาศัพท์อย่างไร
                 1. ทรงพระราชนิพนธ์
                 2. ทรงพระนิพนธ์
                 3. ทรงนิพนธ์
                 4. นิพนธ์
                 5. ทรงแต่ง

29. พยัญชนะตัวนำเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรเดี่ยว จะออกเสียงพยางค์หลังตามวรรณยุกต์ของอักษรสูง และอักษรกลางได้แก่
                  1. ยุโรป บัญญัติ ตลุง
                  2. ดิลก สิริ ฉลู
                  3. ตงิด อร่อย ตลาด
                  4. กนก อุปราช อำมาตย์
                  5. บุรุษ ประโยชน์ เทศนา

30-31 คำอ่านในข้อใดไม่ถูกต้อง

30.              1. 2,001        อ่านว่า       สองพันหนึ่ง
                   2. 20:32            "            ยี่สิบนาฬิกา สามสิบสองนาที
                   3. สรรเสริญ      "            สัน-ระ-เสิน
                   4. ทูลเกล้าฯ     "            ทูล-เกล้า-ทูน-กระ-หม่อม
                   5. สมรรถนะ      "            สะ-มัด-ถะ-นะ

31.              1. ผลิตผล     อ่านว่า       ผะ-หลิต-ตะ-ผน
                   2. สรรพสัตว์      "            สัน-พะ-สัด
                   3. กรมธรรม์       "            กรม-มะ-ทัน
                   4. อาสาฬหบูชา "            อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา
                   5. ปกิณกะ          "            ปะ-กิน-นะ-กะ

32. ข้อใดออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี
                   1. มัธยมศึกษา  อ่านว่า     มัด-ถะ-ยม-มะ-สึก-สา
                   2. ประวัติศาสตร์   "           ประ-หวัด-สาด
                   3. เพชรบุรี            "           เพ็ด-บุ-รี
                   4. โบราณวัตถุ      "            โบราน-วัด-ถุ
                   5. เทศนา             "             เทด-สะ-หนา

33. ยานพาหนะประเภทใดของกองทัพไทยที่อาจนำมาเปรียบเทียบกับ "สำเภายนต์" ในบทประพันธ์ต่อไปนี้
  " พอแดดล่มลมตกลงชายเขา         ขึ้นสำเภายนต์ใหญ่ดังใจหมาย
ออกจากบ้านอ่านมนต์เรียกพระพาย  แสนสบายบุกป่ามาบนดิน
ถึงทะเลแล่นตรงลงในน้ำ                   เที่ยวลอยลำเล่นมหาชลาสินธุ์"
                    1. เรือรบ
                    2. เรือใบ
                    3. เรือดำน้ำ
                    4. รถไฟฟ้า
                    5. รถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก

34. วรรณคดีหลายเรื่องที่ตัวเอกล้วนแต่ต้องทำสงคราม แต่มีวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่ให้ความรู้เรื่องศึกสงครามอย่างเด่นชัด จนทำให้วงการทหารไทยนำมาประยุกต์ใช้และนิยมกล่าวขงัญถึง คือ ข้อใด
                     1. รามเกียรติ์
                     2. อิเหนา
                     3. พระอภัยมณี
                     4. สามก๊ก
                     5. ขุนช้างขุนแผน

35. ประโยคในข้อใดไม่ สอดคล้องกับสาระสำคัญชองบทประพันธ์ต่อไปนี้
          " สงสารคำ     ทำการ          มานานแล้ว
             ดูไม่แคล้ว    ตาไป           ในหนังสือ
             มันถูกใช้      หลายอย่าง  ไม่วางมือ
             แต่ละมื้อ      ตำตราก        ยากเต็มที"
                   (พระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)
                      1. หน้าที่หลักของอาจารย์ต้องทำการสอน
                      2. นักการพร้อมใจกันทำการเก็บขยะมูลฝอยบริเวณรอบๆโรงเรียน
                      3. เวลาเปิดทำการ 09:00 - 17:00 น.
                      4. นักเรียนทุกคนต้องทำการฝึกวิชาทหารก่อนเข้าเป็น นตท.
                      5. เจ้าหน้าที่ทำการฝึกอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับการเพาะเห็ดฟาง

36. ในปีนี้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ถ้านับตามสุริยคติตรงกับข้อใด
                       1. อธิกวาร
                       2. อธิกมาส
                       3. อธิกสุรทิน
                       4. อธิกดิถี
                       5. อธิกคติ

37. การสร้างคำนามราชศัพท์อาจทำได้โดยนำคำว่า "พระ" ประกอบหน้าคำสามัญบางคำ เช่น เก้าอี้ เป็น พระเก้าอี้ เป็นต้น ถ้าท่านต้องการกล่าวถึง " เครื่องคอมพิวเตอร์" ของพระเจ้าแผ่นดิน ควรใช้คำราชศัพท์ในข้อใด
                       1. เครื่องจักรสมองกล
                       2. พระเครื่องจักรสมองกล
                       3. พระเครื่องคอมพิวเตอร์
                       4. เครื่องคอมพิวเตอร์
                       5. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์

38. ข้อใดเป็นคำราชศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ทุกคำ
                        1. พะทำมะรง ปฏิสันถาร อาคันตุกะ
                        2. เพ็ดทูล ประพาส รโหฐาน
                        3. กรณียกิจ ดำริ  นัยน์ตา
                        4. พระเจ้า   พระเกี้ยว   พระฉาย
                        5. โปรด   สรง   ทิวงคต

39. คำราชศัพท์  "พระโสณี" หมายถึงอะไร
                        1. ตะโพก
                        2. บั้นเอว
                        3. สีข้าง 
                        4. ข้อเท้า
                        5. ต้นขา

ข้อ 40- 41 เรียงลำดับข้อความต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
40. 1. ความโกรธแค้นย่อมทำลายจิตใจของผู้โกรธนั่นเอง
      2. หาทำให้เขามีความเดือดร้อนไม่
      3. แต่เรากำลังทำร้ายและทำลายตัวเอง
      4. การที่เราโกรธผู้อื่นนั้น
      5. ทำไมเล่าเราจึงทำลายตัวเองโดยยอมให้ความโกรธครอบงำ
                         1. 1,2,3,4,5
                         2. 1,4,2,3,5
                         3. 4,2,3,1,5
                         4. 5,4,2,3,1
                         5. 5,1,2,3,4

41. 1. วิทยาเปรียบด้วยกำลัวเหมาะ
      2. ปัญญาคืออาวุธยุทธวิชัย
      3. สุจริตคือเกราะกำบังได้
      4. สติไซร้คุ้มพลยุทธนา
                          1. 3,4,2,1
                          2. 3,4,1,2
                          3. 1,3,2,4
                          4. 1,3,4,2
                          5. 2,4,1,3

42. จงพิจารณาเครื่องหมายวรรคตอนทั้งหมดที่ปรากฏในข้อความต่อไปนี้
           " .......... หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยของคนไทยฉบับแรก คือ หนังสือพิมพ์ค้อน(Court) เป็นผลงานของเจ้านาย 11 พระองค์ ทรงช่วยกันนิพนธ์เรื่องลงพิมพ์โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ทรงเป็นหัวหน้า  หนังสือพิมพ์ค้อต ฉบับแรกออกเมื่อ  วันที่ี 26  กันยายน  พ.ศ. 2418... "
                          1. สัญประกาศ  นขลิขิต  มหัพภาค  จุดไข่ปลา
                          2. มหัตถสัญญา  จุดไข่ปลา นขลิขิต มหัพภาค
                          3. อัญประกาศ จุดไข่ปลา นขลิขิต มหัพภาค
                          4. อัญประภาษ มหัพภาค นขลิขิต มหัตถสัญญา
                          5. อัญประภาษ จุดไข่ปลา นขลิขิต มหัพภาค

43. สมมุติว่า ท่านขับรถเข้าไปใน รร.จปร. เพื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน พอรถแล่นถึงหน้าประตูโรงเรียน ทหารรักษาการณ์โบกมือให้หยุด แล้วแสดงความเคารพด้วนท่าวันทยาหัตย์ ขอดูบัตรผ่าน แล้วอนุญาตให้ท่านผ่านเข้าไปได้ หลังจากนั้นท่านขับรถเลี้ยวซ้ายตามเครื่องหมายจราจรจึงถึงที่หมาย
อวัจนภาษาข้อใดที่ใช้ในการสื่อสารครั้งนี้
                           1. การขับรถ- การหยุดรถ
                           2. การเข้าชมพิพิธภัณฑ์
                           3. การขอดูบัตรผ่าน
                           4. เครื่องหมายจราจร
                           5. โบกมือให้รถหยุด วันทยหัตย์ เครื่องหมายจราจร

ข้อ 44-45 อ่านบทความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
           สำหรับประเทศไทยนั้น ก็มีหลายคนอยากจะให้เป็นนิกบ้างและมักกล่าวกันว่า การจะเป็นนิกให้ได้นั้นต้องมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางคนไปไกลถึงขนาดกล่าวกันว่า ภาษาและวรรณคดีจะลดความสำคัญลงไป หรืออาจจะ " ไม่มีที่ " ในสังคมนิกด้วยซ้ำ 
          เมื่อไม่นานมานี้ มีนักการตลาดชาวไทยผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งได้ถ่ายทอดประสบการณ์เชิงการตลาดออกมาในรูปแบบนวนิยาย  เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านซึ่งเป็นการให้ความรู้ในด้านการขายที่ชาญฉลาดยิ่งวิธีหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้ได้ให้สัมภาษณ์ว่า นักการตลาดอย่างท่านสามารถทำได้อย่างนี้เพราะชอบเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่เด็ก เมื่อชอบเรียนภาษาไทยแล้วก็ชอบเขียนภาษาไทยด้วย
          ในการประชุมธนาคารโลกที่ผ่านมานั้น สิ่งที่ได้รับความชมอย่างมากอย่างหนึ่งก็คือ ปาฐกถาเปิดงานของนายกรัฐมนตรีไทย ปาฐกถาชิ้นนี้มีข้อความคมคายและสามารถโน้มน้าวใจผู้ฟังได้อย่างดียิ่ง ผู้ที่ร่วมเขียนปาฐกถาชิ้นนี้มี 3 ท่าน ท่านหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์ว่า ท่านได้ใช้ความรู้เก่าที่เรียนวิชาศิลปะการละครและวรรณคดีมาใช้ในการเขียนปาฐกภาชิ้นนี้
          จึงน่าจะกล่าวได้ว่า ภาษาและวรรณคดีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความเป็นนิกโดยทำหน้าที่โอบอุ้มอยู่อย่างเงียบๆ จนคนทั่วไปอาจจะมองไม่เห็น

44. ท่านควรตั้งชื่อบทความนี้ว่าอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
                      1. นิกในประเทศไทย
                      2. บทบาทของความเป็นนิก
                      3. ภาษาและวรรณคดีกับความเป็นนิก
                      4. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
                      5. ประโยชน์ของวิชาภาษาไทย

45. ประเด็นสำคัญของบทความนี้ตรงกับข้อใด
                      1. การเป็นนักเขียนที่ดีต้องเรียนภาษาและวรรณคดี
                      2. ภาษาและวรรณคดีมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นประเทศอุตสาหกรรม
                      3. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ภาษาและวรรณคดีลดความสำคัญลงไป
                      4. วิชาศิลปะการละครนี้สามารถนำมาใช้เขียนปาฐกถาได้
                      5. การถ่ายทอดประสบการณ์เชิงการตลาดออกมาในรูปแบบของนวนิยายได้ผลดีที่สุด

46. ข้อใดไม่ใช่ประโยคคำสั่ง
                     1. เรียบอาวุธ
                     2. ปล่อยฉันเดี๋ยวนี้
                     3. ตรงหน้าวันทยหัตย์
                     4. ร้านค้าเล็กๆ งดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
                     5. ชำระร่างกายให้สะอาดก่อนลงสระว่ายน้ำทุกครั้ง

 47. ประโยคในข้อใด ไม่ใช่ประโยคความรวม
                     1. เขาจะลงทุนคนเดียว หรือจะหุ่นกับเพื่อน
                     2. ฝนตกหนักมากแต่โชคดีน้ำไม่ท่วม
                     3. รถชนกันตรงสี่แยก การจราจรจึงติดขัด
                     4. ทั้งคนเล่นและคนดู รายการวิก 07 ต่างสนุกสนานพอๆกัน
                     5. เราหวงแหนแผ่นดินไทย อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา

48. ประโยคในข้อใดเป็นประโยคชนิดเดียวกับประโยคต่อไปนี้
          " คนไข้ต้องกินยาตามหมอสั่ง "
                     1. เขาอ่านหนังสือคู่มือเตรียมสอบระหว่างที่นั่งอยู่บนรถประจำทาง
                     2. โครงการเขายางแดงเป็นโครงการในพระราชดำริ
                     3. ฉันจะซื้อหนังสือแล้วไปรับประทานอาหารกลางวันที่สยามเซ็นเตอร์
                     4. พอเห็นหน้าศรัญยูฉันก็หายห่วงเลย
                     5. เพ็ญพักตร์มองเห็นช่องทางที่รวยแต่ทว่าเธอไม่กล้าเสี่ยง

49. ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด
        " คนเราจะรู้สึกอ่อนเพลียเมื่ออากาศเสียเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป"
                     1. ประโยคความเดียว
                     2. ประโยคความรวม
                     3. ประโยคความซ้อน
                     4. ประโยคหลัก
                     5. ประโยคย่อย

50. " เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกว่าสามสิบปีมาแล้ว" ข้อความที่ขีดเส้นใต้ทำหน้าที่เป็นส่วยใด
                     1. คำที่ถูกขยาย
                     2. ส่วนขยายคำกริยา
                     3. กรรมตรง
                     4. กรรมรอง
                     5. คำบอกกาลเวลา

ดาวน์โหลด [PDF]ข้อสอบเตรียมทหาร นายร้อย จปร.ภาษาไทย 2535.pdf ข้อใดเฉลยผิดฝากคอมมเม้นหรือติชมด้วยนะครับ

No comments:

Post a Comment