Disable copy

Monday 20 February 2017

[PDF] ข้อสอบวิชาภาษาไทย ข้อสอบเตรียมทหาร ข้อสอบนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(นายร้อย จปร.) ประจำปี 2534

ข้อสอบเตรียมทหาร.pdf

ดาวน์โหลด ข้อสอบเตรียมทหาร.pdf ข้อสอบนายร้อย จปร.pdf

วิชาภาษาไทย พ.ศ. 2534

ขอร้องว่าอย่าโหลดแล้วเอาไปพิมพ์เพื่อจำหน่ายให้คนอื่นนะครับ แชร์ให้คนอื่น หรือโหลดไปให้คนอื่นดีกว่าครับ
ฝากกดแชร์ คอมเมนต์เพื่อเป็นกำลังใจด้วยนะครับ



ผิดพลาดประการใดหรือไม่เหมาะสมฝากแจ้งผม ผ่านทาง คอมเมนต์ หรือ Email นะครับ ผมดำเนินการถอดออกให้ครับ


วิธีการดาวน์โหลดกดที่มุมขวาบนของ PDF นะครับ แล้วมันจะไปยังหน้า เวปแอพ PDF อีกอันหนึ่งแล้วจะมีปุ่มกดให้ดาวน์โหลด(Download)ครับ 

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นลักษณะที่สำคัญของภาษาไทยน้อยที่สุด
     1. เป็นภาษาคำโดด
     2. มีตัวสะกดตามมาตรา
     3. สร้างคำใหม่โดยวิธีประสมคำ
     4. เสียงวรรณยุกต์ทำให้ความหมายคำเปลี่ยน
     5. มีตัวสะกดและอัขรวิธีเป็นของตัวเอง

2. ข้อในข้อใดถูกต้องที่สุด
     1. เครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้คนในสังคมเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง
     2. ทุกชาติทุกภาษาจำเป็นต้องมีตัวอักษรเป็นของตนเอง
     3. เสียงในภาษาหมายถึง การออกเสียงในเวลาพูดเท่านั้น
     4. การเคลื่อนไหวทางอวัยวะ ไม่ถือว่าเป็นภาษาเพราะสื่อความไม่ชัดเจน
     5. ภาษาไม่เป็นสื่อความหมายเฉพาะในหมู่มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ด้วย

3. เหตุใดจึงเรียกภาษาไทยว่าเป็นภาษาคำโดด
     1. มักอยู่โดดๆไม่เกี่ยวข้องกับภาษาอื่น คือ มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
     2. คำทุกคำมีพยางค์เดียว ถ้าเป็นคำหลายพยางค์ต้องเกิดจากการประสมคำ
     3. มีเสียงวรรณยุกต์กำกับ ทำให้แต่ละคำมีเสียงโดดเด่นเป็นพิเศษ
     4. คำโดยทั่วไปมักมีพยางค์เดียว และมีความหมายสำเร็จสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ
     5. ถูกทุกข้อ

4. พยัญชนะในภาษาไทยทั้ง 44 ตัว มีชื่อเรียกเฉพาะด้วยเหตุใด
     1. เพื่อแบ่งเสียงพยัญชนะ และสระให้โดดเด่น
     2. เพื่อให้เด็กได้ทราบว่าอักษรแต่ละตัวแทนวัตถุหรือสัตว์ใด
     3. เพื่อให้ง่ายแก่การท่องจำ
     4. เพื่อมิให้สับสนเรื่องเสียงที่ซ้ำกัน
     5. ไม่มีข้อใดถูก

5. ภาษาเขมรจัดอยู่ในประเภทของ
     1. ภาษาคำโดด
     2. ภาษามีวิภัตติปัจจัย
     3. ภาษาคำควบมากพยางค์
     4. ภาษาคำต่อเนื่อง
     5. ภาษาคำติดต่อ

6. เครื่องหมายวรรคตอนข้อใดมีรูปดังนี้ $\cdot$ จุด
     1. อัฒภาค
     2. จุลภาค
     3. พินทุ
     4. มหัพภาค
     5. มหรรถสัญญา

7. ข้อใดควรใช้เครื่องหมาย "ๆ" (ไม่ยมก)
     1. ตำรวจไล่กวดจับคนร้าย ผู้ร้ายพยายามขึ้นรถยนต์หนี
     2. ฉันทำการบ้านบ้านคุณยาย
     3. ยายแจ๊วนอนนอนก็เลยหลับไป
     4. เขาไปดูที่ที่ทุ่งภูเขาทอง
     5. เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่

8. เครื่องหมายวรรคตอนข้อใด มีรูปดังนี้ "_ _ _"
     1. สัญประกาศ
     2. บุพสัญญา
     3. อัญประกาศ
     4. ยัติภังค์
     5. นขลิขิต

9. พยัญชนะไทยมี 44 ตัว คือ ก ข ค ฯลฯ ฮ เครื่องหมาย ฯลฯ ในข้อความข้างบนนี้อ่านออกเสียงอย่างไร
     1. ละ
     2. ละถึง
     3. และอื่นๆอีกมาก
     4. ต่างๆ
     5. ไปยาลใหญ่

10. ภาษาแบ่งตามลักษณะการใช้เป็น 3 ประเภท คือ ภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน ภาษาแบบแผน ข้อใดมิใช่ภาษาปาก
     1. จุดไฟหน่อยสิ มือจะตายชัก
     2. สุนีย์ทำหน้าเหม็นบูด
     3. ลัดดาถูกเพื่อนอมเงิน
     4. ทหารเหล่านี้ไม่กินสีกับทหารอีกเหล่าหนึ่ง
     5. ชายคนนั้นเดินขึ้นมาบนสถานีตำรวจด้วยกิริยาของคนที่หมดแรง

11. -13 คำที่ขีดเส้นใต้ใดในประโยคใดสะกดผิด
11.
     1.การบนบาน คือการอ้อนวอนขอให้ช่วยโดยให้สิ่งของตอบแทนเมื่อสำเร็จ
     2. วันนี้ฝนตกเป็นละอองทั้งวัน
     3. สังคมเราทุกวันนี้ ดูจะขาดแคลนเมตตาปราณีลงทุกวัน
     4. เมื่อเธอจะซื้อรถยนต์ต้องคำนึงถึงเครื่องอะไหล่ด้วย
     5. สมชัยได้รับตำแหน่งใหม่นี้เพราะความฉลาดปราดเปรื่องที่เขามีอยู่

12.
     1. โอยัวะ เป็นภาษาจีน แปลว่า กาแฟดำร้อน
     2. ผู้หญิงที่สามีตายและร่ำรวยเรียกว่าแม่ม่ายทรงเครื่อง
     3. มูลนิธิสายใจไทยให้การช่วยเหลือแก่ทหารที่ทุพพลภาพ
     4. วัดมกุฏกษัตริยารามอยู่ใกล้กระทรวงศึกษาธิการ
     5. ผู้ที่เป็นทหารจะสะดวกสะบายเหมือนพลเรือนไม่ได้

13. 
     1. เกล็ดเม็ดแตงโม คือ ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน
     2. ถ้าเธอจะทำแหวนสักวงหนึ่ง เธอต้องเสียค่ากำเหน็จด้วย
     3. ผู้ที่เป็นมัคคุเทศก์ จะต้องได้รับการอบรมเสียก่อน
     4. จงอธิบายข้อความต่อไปนี้อย่างคร่าวๆ
     5. พลตำรวจตรีเสรี เตมียเวส มีความมุ่งมาตรปรารถนาที่จะปราบคนร้ายให้หมด

14. คำในข้อใดเป็นคำไทยทั้งหมด
     1. คทา ชวา กลาสี
     2. ทะลึ่ง สะอาด กักขัง
     3. ขโมย สลัด เกาเหลา
     4. อิสรภาพ พนวช สะกาว
     5. เก้าอี้ สุกงอม เจียระไน

15. พยัญชนะตัวนำเป็นอักษรสูง หรือ กลาง นำอักษรเดี่ยวจะออกเสียงพยางค์หลังตามวรรณยุกต์ของอักษรสูงและกลางได้แก่
     1. ยุโรป สิริ ตลุง
     2. ตลาด อร่อย ตงิด
     3. ฉลู อุปราช อำมาตย์
     4. ดิลก บุรุษ ประโยชน์
     5. บัญญัติ กนก ตลบ

16. ข้อใดเขียนเสียงอ่านไม่ถูกต้อง
     1. 23.30 น. อ่านว่า   ยี่สิบสามนาฬิกาสามสิบนาที
     2. ทูลเกล้า       "      ทูลเกล้าทูลกระหม่อม
     3. สมรรถภาพ   "      สะ-มัด-ถะ-พาบ
     4. 2,001            "      สองพันหนึ่ง
     5. สรรพสัตว์     "      สัน-พะ-สัด

17. คำอ่านในข้อใดไม่ถูก
     1. กรรมาธิการ /กัน-มา-ทิ-กาน /ท่านแต่งตัวหวังทำกิจ
     2. ถาวรวัตถุ / ถา-วะ-ระ-วัด-ถุ / มั่นคงประสงค์มี
     3. มาตรการ / มาด-ตระ-กาน / เที่ยงตรงคงราคา
     4. ธนบัตร / ทะ-นะ-บัด / แทนเงินตราที่ตราวาง
     5. ผลิตภัณฑ์ / ผะ-หลิด-ตะ-พัน / สินค้าไทยให้จำนง

18. ข้อใดออกเสียงคำได้ถูกต้องตามอักขรวิธี
     1. อุดมศึกษา      อ่านว่า     อุ-ดม-มะ-สึก-สา
     2. ประวัติบุคคล       "          ประ-หวัด-ดิ-บุก-คน
     3. พรหมลิขิต          "           พรม-ลิ-ขิต
     4. เพชรบุรี               "           เพ็ด-บุ-รี
     5. โบราณวัตถุ         "           โบ-ราน-วัด-ถุ

19. สระ ฤ ในข้อใดออกเสียง /ริ/ ทุกคำ
     1. คฤหัสถ์ หฤทัย มฤคี
     2. นฤคหิต อังกฤษ สฤษฏ์
     3. ตฤณมัย พฤกษา นฤบาล
     4. ศฤงคาร อมฤต พฤนท์
     5. กฤษฎีกา ทฤษฎี พฤษภาคม

20. ข้อใดเขียนคำผิดทุกคำ
     1. ผาสุก ปรากฎ สังเกตุ ดอกจัน
     2. เมตตาปรานี ขะมักเขม้น สะอาด แกงบวช
     3. อนุญาติ รสชาด อานิสงฆ์ บิณฑบาตร
     4. อะไหล่ หยักศก ซากศพ กากบาท
     5. สิงห์โต ชมพู่ โอกาส ลาดตระเวณ

21. ข้อใดใช้อักษรไทยถ่ายเสียงคำภาษาอังกฤษได้ถูกต้องทุกคำ
     1. ช็อกโกเลต ปิกนิก คอร์รัปชั่น
     2. เปอร์เซ็นต์ แสตมป์ ฟุตบอลล์
     3. เต๊นท์ แบตเตอรี่ ไอศครีม
     4. โปสเตอร์ เน็คไท แท๊กซี่
     5. เทคโนโลยี โน๊ต เชิ้ต

22. ข้อใดเรียงคำได้ถูกต้องตามลำดับการเรียงคำในพจนานุกรม
     1. หยากไย่ ยุติธรรม ราศี ฤทัย แขวง
     2. ยุติธรรม ราศี หยากไย่ ฤทัย แขวง
     3. แขวง ยุติธรรม ราศี ฤทัย หยากไย่
     4. ฤทัย ราศี หยากไย่ แขวง ยุติธรรม
     5. ราศี ฤทัย หยากไย่ แขวง ยุติธรรม

23. ข้อใดอ่านผิดอักขรวิธี
     1. กรณี         อ่านว่า         กะ-ระ-นี
     2. มกราคม      "               มก-กะ-รา-คม
     3. ปรกติ          "               ปรก-กะ-ติ
     4. คมนาคม     "               คะ-มะ-นา-คม
     5. กรกฎาคม   "               กะ-ระ-กะ-ดา-คม

24. หนังสือที่ผู้อ่าน ควรอ่านให้รู้เรื่องราวทั้งหมดอย่างน้อยหนึ่งเที่ยวและอ่านซ้ำเฉพาะตอนที่คิดว่าผู้สอนเน้นหรือแนะนำให้อ่านเป็นหนังสือประเภท
     1. ตำราเรียน
     2. หนังสืออ่านในชั้นเรียน
     3. หนังสืออุเทศก์
     4. หนังสืออ้างอิง
     5. หนังสืออ่านนอกชั้นเรียน

25. ทำไมเราจึงควรอ่านหนังสือพิมพ์อย่างน้อยสองฉบับ
     1. ตรวจสอบดูว่า การเสนอข่าวทั่วถึงเหมือนกันหรือไม่
     2. ดูเนื้อหาสาระว่า เล่มใดให้มากกว่ากัน
     3. ตรวจดูว่า การเสนอข่าวมีข้อบกพร่องหรือไม่
     4. ตรวจดูการเข้ารูปเล่ม การให้สีตลอดจนราคา
     5. ถูกทุกข้อ

26. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
     1. กว่าตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ คนร้ายก็หนีไปแล้ว
     2. พายุโซนร้อนคิมมา น้ำจึงท่วมกรุงเทพมหานคร
     3. เขาและเพื่อนจะไปต่างจังหวัดพรุ่งนี้
     4. ถึงกรุงเทพมหานครจะป้องกันอย่างไรน้ำก็ยังท่วมอยู่ดี
     5. เขาได้เช่าแฟลตอยู่กับน้องที่ดินแดง

27. สมชายเป็นคนเอางานเอาการจึงประสบความสำเร็จในชีวิต แต่สุเทพไม่เอาไหนเลยจึงถึงแก่ความล้มเหลวตลอดมา ข้อความนี้มีกี่ประโยค
     1. 2 ประโยค
     2. 3 ประโยค
     3. 4 ประโยค
     4. 5 ประโยค
     5. 6 ประโยค

28. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
     1. เขาเกิดในปีที่ฉันเข้ารับราชการ
     2. มีนักเรียนในห้องนี้หลายคน
     3. คนกินข้าวเป็นประโยค
     4. กวีบางท่านอาจจะใช้ถ้อยคำพื้นๆอันเป็นที่เข้าใจกันได้ดีในหมู่ประชาชน ยิ่งกว่าในหมู่ผู้ที่มีการศึกษาเสียอีก
     5. เป็นการไม่ดีที่เธอแสดงกิริยาเช่นนี้

29. ข้อใดเป็นประโยคความรวมที่มีวิเศษณานุประโยค
     1. ครูดีใจมากเมื่อเราทำได้เหมือนที่ครูคิด
     2. ม้าตัวที่ท่านชอบตายเสียแล้ว
     3. การเงินของพ่อค้าขายของชำฝืดเคืองมาก
     4. อาหารสำหรับนักเรียนเล่นละครมีอยู่ในห้อง
     5. เขาทำให้ฉันกลัวผี

30. ถ้อยคำที่ผู้ไม่ได้พูดตรงไปตรงมา แต่มีชั้นเชิง อาจจะมีความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจกันดีอยู่แล้ว หรือต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรืออาจไม่เข้าใจก็ได้ คำพูดเช่นนี้จัดเป็น
     1. คำปริศนา
     2. คำสำนวน
     3. คำประชดประชัน
     4. คำสอนใจ
     5. คำผวน

31. คำพูดที่ว่า "นกมีหู หนูมีปีก" น่าจะตรงกับความหมายใด
     1. ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
     2. หน้าต่างมีรู ประตูมีช่อง
     3. นายว่าขี้ข้าพลอย
     4. เหยียบเรือสองแคม
     5. ปีกกล้าขาแข็ง

32. สำนวนที่มีความหมายว่า เข้ากันไม่ได้ ไม่ลงรอยกัน ไม่ถูกกัน ไม่ทำกิจกรรมด้วยกัน
     1. ไม่ลงโบสถ์กัน
     2. ศรศิลป์ไม่กินกัน
     3. หมูเขาจะหาม เอาคานเข้ามาสอด
     4. หัวมังกุ ท้ายมังกร
     5. ขมิ้นกับปูน

33. สิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ไม่รู้คุณค่า
     1. กิ้งก่าได้ทอง
     2. ตาบอดได้แว่น
     3. นิ้วด้วนได้แหวน
     4. วานรได้แก้ว
     5. หัวล้านได้หวี

34. สำนวน "วัวใครเข้าคอกคนนั้น" ตรงกับความหมายว่า
     1. บุคคลย่อมรักที่อยู่ของตน
     2. วัวย่อมผูกพันกับที่อยู่
     3. ผู้ใดทำกรรมเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
     4. นายย่อมคุ้มครองลูกน้อง
     5. ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

35. ข้อใดใช้บุพบทผิด
     1. ฉันเห็นกับตาทีเดียวว่า เขาซื้อผ้าชิ้นนี้กับมือของเขา
     2. ทุกคนควรซื่อสัตว์ต่อหน้าที่ยิ่งกว่าชีวิต
     3. เขาเดินจากหินกองตั้งแต่เช้าจนกระทั่งค่ำก็ยังไม่ถึงพระพุทธบาท
     4. บางครั้งทหารต้องนอนทั้งเครื่องแบบ
     5. เศรษฐีใจบุญมักแจกจ่ายเงินทองสู่คนจน

36. ข้อใดใช้บุพบท "กับ" ถูกต้อง
     1. เขารู้อยู่กับใจ
     2. กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
     3. เธอไม่ควรเห็นกับหน้าผู้ใด
     4. เขาเสนอเรื่องกับผู้บังคับบัญชา
     5. บุตรกับธิดาเป็นเจ้าภาพ

37. คำว่า "จน" ในข้อใดเป็นคำกิริยา
     1. เราจนก็จริง แต่ไม่เคยทุจริต
     2. ฉันจะรอเขาจนพรุ่งนี้
     3. เกิดเป็นคนอย่ากลัวจน
     4. คนจนไม่จำเป็นต้องเป็นคนชั่ว
     5. เรายอมอยู่อย่างจนๆดีกว่าคดโกงใคร

38. ข้อใดใช้คำตบแต่งผิด
     1. เมื่อพยาบาลตบแต่งบาดแผลให้แล้ว เขาก็เดินทางต่อไป
     2. กระเช้าดอกไม้ของเราเสียรูปไปบ้างแล้ว ช่วยตบแต่งให้หน่อย
     3. หลังจากได้ตบแต่งลูกสาวให้มีเหย้ามีเรือนไปแล้วพ่อแม่ก็หมดกังวล
     4. ท่านให้ช่างช่วยกันตบแต่งบ้านมาสองอาทิตย์แล้ว
     5. สมทรงนั้งลงบนเก้าอี้หน้าโต๊ะเครื่องแป้ง ตบแต่งทรงผมให้เข้ารูปแล้วรีบออกไปจากห้อง เพราะได้ยินเสียงแตรรถยนต์อยู่ที่ถนนหน้าบ้าน

39. จงเลือกคำเชื่อมที่เหมาะสมกับข้อความข้างล่างนี้
".............. ฉันเห็นหนังสือเล่มนี้ ฉัน........สนใจติดตามอ่าน..............ฉันชอบหนังสือประเภทนี้อยู่แล้ว"
     1. พอ...ก็..จริง
     2. เมื่อ...ก็...เพราะ
     3. เวลา...จึง...ด้วย
     4. ตั้งแต่...ก็...เพราะ
     5. เมื่อ...จึง...ที่

40.ไม่ชัดเจนสูญหาย

41. พ่อค้ากักตุนข้าว ข้าวจึงแพง คำว่าจึงเป็นสันธานเชื่อมประโยคความประเภทใด
     1. เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
     2. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน
     3. เชื่อมความที่แบ่งรับรอง
     4. เชื่อมความที่ให้เลือกเอา
     5. เชื่อมความคล้อยตามกัน

42. ข้อความใดใช้คำถูกต้องตามความหมาย
     1. เขารัวกระสุนใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจหนึ่งนัด
     2. ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ความมผิดวัดละเล็กวันละน้อย
     3. บริเวณนี้มีคนอยู่หนาแน่นมาก
     4. คนดูแน่นขนัด เจ้าหน้าที่พยายามกีดกันเท่าไรก็ไม่ได้ผล
     5. นักเรียนต้องไม่ก้าวร้าวสิทธิของกันและกัน

43. ไม่ชัดเจน

44. ไม่ชัดเจน

45. ท้อไยเมื่อใจยังเต้น         เมื่อเส้นเลือดแรงแดงฉาน
ความหวังยังเข้มเต็มมาน      กล้าหาญเถิดสูสู้ไป
ผู้เขียนบทร้อยกรองนี้มีจุดประสงค์ประการใด
     1. ตำหนิ
     2. ปลุกใจ
     3. สั่งสอน
     4. ชักชวน
     5. ปลอบใจ

46. ข้อใดใช้คำ "ต่อรอง" ผิด
     1. การชกมวยคู่นี้มีการต่อรองกันมาก
     2. นักศึกษามักจะขอต่อรองกับอาจารย์ในเรื่องส่งงานช้ากว่ากำหนด
     3. รัฐบาลได้ขอร้องให้ฝ่ายนายจ้างพยายามผ่อนผันให้แก่ลูกจ้างตามข้อต่อรองที่พวกเขาเสนอมา
     4. พรรคพลังธรรมกำลังต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ที่จะให้ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีมาอีกตำแหน่งหนึ่ง
     5. ผมเกรงว่าจะไม่สามารถต่อรองให้เป็นไปตามความต้องการได้ เพราะฝ่ายเราไม่มีข้อได้เปรียบ

47. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง
     1. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก กราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
     2. ราษฎรจังหวัดนครนายกพากันมาถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างเนืองแน่น
     3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปทรงวางพวงมาลาพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
     4. โขนของกรมศิลปากร แสดงหน้าพระพักตร์เพื่อถวายทอดพระเนตร
     5. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดเยี่ยม

          งานสารฤาห่อนเหี้ยน    หดคืน
     คำกล่าวสาธุชนยืน             อย่างนั้น
     ทรชนกล่าวคำฝืน               คำเล่า
     หัวเต่ายาวแล้วสั้น               เล่ห์ลิ้นทรชน

48. โคลงบทนี้เสนอสาระที่ให้ความคิดลึกซึ้งในแง่ใด
     1. ความจงรักภักดี
     2. ความซื่อสัตย์
     3. ความมั่นคง
     4. อนิจจัง
     5. ความยั่งยืน

49.
          สรรพางค์โสภาคย์พร้อม     ธัญลักษณ์
     ภาษิตจิตประจักษ์                   ซื้อพร้อม 
     เป็นสุขโสดตนรัก                     การชอบ  ธรรมนา
     สามสิ่งควรชักน้อม                   จิตให้ยินดี
     
     1. ความงาม คำพูดดี ความมีสุข
     2. ความงาม ความซื่อ ความเป็นโสด
     3. ความงาม ความซื่อ ความมีอิสระ
     4. ความงาม ความซื่อ ความมีสุข
     5. ความงาม คำพูดดี ความเป็นธรรม

50. สำนวนใดมีความหมายตรงกันข้าม
     1. ขี่ช้างจับตั๊กแตน : เกี่ยวแฝกมุงป่า
     2. ตักน้ำรดหัวตอ    : สีซอให้ความฟัง
     3. เนื้่อเต่ายำเต่า     : อัฐยายซื้อขนมยาย
     4. ทำนาบนหลังคน : รีดเลือดกับปู
     5. เข็นครกขึ้นภูเขา : งมเข็มในมหาสมุทร



   
ผิดพลาดประการใดแนะนำเป็นคอมเมนต์ด้วยนะครับ ถ้าดีฝากแชร์ด้วยคับข้อสอบบางข้อสูญหายเนื่องจากเก่าแล้วสำเนาหลายครั้งจนไม่ชัดเจนครับผมพยายามเกาะสุดๆและครับใครมีเพิ่มเติมช่วยแจ้งผมด้วยนะครับ

     
     

No comments:

Post a Comment