1. ค่าของ \dfrac{1}{\cos^2 10^\circ}+\dfrac{1}{\sin^220^\circ}+\dfrac{1}{\sin^240^\circ}
1) 8
2) 6
3) 12
4) 10
วิธีทำ
โดยใช้คุณสมบัติของตรีโกณมิติต่างๆ ด้านล่างนี้
- \sin(2A)=2\sin A\cos A
- \sin^2(A)=\dfrac{1-\cos 2A}{2}
- \cos^2 (A)=\dfrac{1+\cos 2A}{2}
- \cos A\cos B=\dfrac{\cos(A-B)+\cos(A+B)}{2}
- \cos A-\cos B =2\sin\dfrac{(A+B)}{2}\sin\dfrac{(B-A)}{2}
- \sin(90\pm A)=\cos (A)
จากสมการที่โจทย์กำหนดให้
\dfrac{1}{\cos^2 10^\circ}+\dfrac{1}{\sin^220^\circ}+\dfrac{1}{\sin^240^\circ} กำหนดให้เป็นสมการที่ 1
โดยเมื่อเราพิจารณาจากสมการที่ 1 จะเห็นว่า เราต้องทำการบวกจำนวน เศษส่วน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการทำเป็น ส่วนร่วม ให้ส่วนมีค่าเท่ากัน จากคุณสมบัติของตรีโกณมิติด้านบนนั้น จะเห็นว่า ถ้าเราให้คุณสมบัติของ 2 เท่าของมุม ในคุณสมบัติข้อที่ 1 จะทำให้เราได้ส่วนร่วม เป็นจำนวนที่คูณกัน ซึ่งเหมาะที่จะนำไปได้ในขั้นต่อไป ดังนั้น เราจึงพิจาณา ส่วนให้เท่ากับ \sin^2 40 ดังนั้น เราจะเหลือ พจน์ \dfrac{1}{\cos^2 10} กับ \dfrac{1}{\sin^2 20} ที่ต้องแปลงส่วนให้เท่ากับ \sin^2 40 ได้ดังนี้
แปลงพจน์ \dfrac{1}{\sin^2 20}
โดยใช้คุณสมบัติ ข้อที่ 1 จะได้
\sin (2\times 20) = 2\sin 20\cos 20
\sin 20 = \dfrac{\sin 40}{2\cos 20} กำหนดให้เป็นสมการที่ 2
นำค่าที่ได้จากสมการที่ 2 ไปแทนใน \dfrac{1}{\sin^2 20} จะได้
\dfrac{1}{\sin^2 10} =\dfrac{1}{\left(\dfrac{\sin 40}{2\cos 20}\right)^2}
\dfrac{1}{\sin^2 20} =\dfrac{4\cos^2 20}{\sin^2 40} กำหนดให้เป็นสมการที่ 3
แปลง \cos^2 จากสมการที่ 3 โดยใช้คุณสมบัติข้อ 3 จะได้
\dfrac{4\cos^220}{\sin^2 40}=\dfrac{4\left(\dfrac{1+\cos 40}{2}\right)}{\sin^2 40}
\dfrac{4\cos^2 20}{\sin^2 40} =\dfrac{4\left(\dfrac{1+\cos 40}{2}\right)}{\sin^2 40}
\dfrac{4\cos^2 20}{\sin^2 40} =\dfrac{2+2\cos 40}{\sin^240} กำหนดให้เป็นสมการที่ 4
พิจารณาพจน์ \dfrac{1}{\cos^2 10} แล้วแปลงเป็นส่วน \sin^2 40 โดยใช้คุณสมบัติข้อที่ 1 จะได้
\sin (2\times 10) =2\sin(10)\cos(10)
\cos 10 =\dfrac{\sin 20}{2\sin 10}
ดังนั้น
\dfrac{1}{\cos^2 10} =\dfrac{1}{\left(\dfrac{\sin 20}{2\sin 10}\right)^2}
\dfrac{1}{\cos^2 10} =\dfrac{4\sin^2 10}{\sin^2 20} กำหนดให้เป็นสมการที่ 5
จากสมการที่ 5 เราสามารถแปลง ส่วนให้เป็น \sin^2 40 ได้ดังนี้ โดยนำสมการที่ 3 มาแทนในสมการที่ 5
\dfrac{1}{\cos^2 10} =\dfrac{4\sin^2 10}{\left(\dfrac{\sin 40}{2\cos 20}\right)^2}
\dfrac{1}{\cos^2 10} =\dfrac{4\sin^2 10\times 4\cos^2 20}{\sin^2 40} กำหนดให้เป็นสมการที่ 6
พิจารณาสมการ 6 โดยแปลงจากค่า \sin^2 และ \cos^2 โดยใช้คุณสมบัติข้อ 2 และ 3 จะมีค่าเท่ากับ
\dfrac{4\sin^2 10\times 4\cos^2 20}{\sin^2 40}=\dfrac{4\times 4\dfrac{1-\cos 20}{2}\dfrac{1+\cos 40}{2}}{\sin^2 40}
\dfrac{4\sin^2 10\times 4\cos^2 20}{\sin^2 40}=\dfrac{4(1+\cos 40-\cos 20-\cos 10\cos40)}{\sin^240}
\dfrac{4\sin^2 10\times 4\cos^2 20}{\sin^2 40}=\dfrac{4+4\cos40-4\cos20-4\cos20\cos40}{\sin^2 40} กำหนดให้เป็นสมการที่ 7
นำสมการที่ 4 และ สมการที่ 7 ไปแทนในสมการที่ 1 จะได้
\dfrac{4+4\cos 40-4\cos 20-4\cos 20\cos 40+2+2\cos 40+1}{\sin^240}
\dfrac{7+6\cos 40-4\cos20-4\cos20\cos 40}{\sin^240} กำหนดให้เป็นสมการที่ 8
พิจารณาเฉพาะพจน์ \cos 20\cos 40 จากสมการ 8 โดยใช้คุณสมบัติข้อ 4 จะได้
\cos 20\cos40 = \dfrac{\cos(40-20)+\cos(40+20)}{2}
\cos 20\cos40 = \dfrac{\cos(20)+\cos(60)}{2}
นำค่าที่ได้ของ \cos 20\cos 40 ไปแทนในสมการที่ 8 จะได้
\dfrac{7+6\cos 40-4\cos 20-4\dfrac{\cos(20)+\cos(60)}{2}}{\sin^2 40}
\dfrac{7+6\cos 40-4\cos20-2\cos 20-2\cos 60}{\sin^240}
\dfrac{7+67cos 40-6\cos20-1}{\sin^240}
\dfrac{6-6\cos20+6\cos40}{\sin^240}
\dfrac{6-6(\cos 20-\cos40)}{\sin^240} กำหนดให้เป็นสมการที่ 9
พิจารณาเฉพาะ \cos20-\cos 40 โดยใช้คุณสมบัติข้อ 5 จะได้
\cos 20-\cos 40 = 2\sin\left(\dfrac{40+20}{2}\right)\sin\left(\dfrac{40-20}{2}\right)
\cos 20-\cos 40 = 2\sin 30\sin 20
\cos 20-\cos 40 = \sin (20) กำหนดให้เป็นสมการที่ 10
นำสมการที่ 10 ไปแทนในสมการที่ 9 จะได้
\dfrac{6-6\sin (20)}{\sin^240}
\dfrac{6(1-\sin(20))}{\sin^240} กำหนดให้เป็นสมการที่ 11
จากคุณสมบัติที่ 6 จะได้ \sin(20) =\sin(90-80) = \cos (80) นำไปแทนสมการที่ 11 จะได้
\dfrac{6(1-\cos 80)}{\sin^2 40} กำหนดให้เป็นสมการที่ 12
พิจารณา \sin^2 40 โดยคุณสมบัติข้อ 2 จะได้ \sin^2 40 =\dfrac{1-\cos 80}{2} นำไปแทนในสมการ 12 จะได้
\dfrac{6(1-\cos 80)}{\dfrac{(1-\cos 80)}{2}} =12
ตอบ 12
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับ ฝากเว็บผมด้วยครับ สอบ กพ 63
ReplyDelete