การอ่านออกเสียงคำที่มีอักษรนำ
หลักการสังเกตในการอ่านออกเสียงคำที่มีอักษรนำ1. เมื่ออักษรสูงนำอักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว (ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล) อักษรเดี่ยวนั้นผันเป็นอักษรสูงตามตัวอักษรตัวนำเช่น
- ขยับขยาย อ่านออกเสียง ขะ-หยับ-ขะ-หยาย
- สยดสยอง อ่านออกเสียง สะ-หยด-สะ-หยอง
- สนุกสนาน อ่านออกเสียง สะ-หนุก-สะ-หนาน
- ขมุกขมัว อ่านออกเสียง ขะ-หมุก-ขะ-หมัว
- ไถง อ่านออกเสีบง ถะ-ไหง
- เถลิง อ่านออกเสียง ถะ-เหลิง
- จรัส อ่านออกเสียง จะ-หรัด
- สมุทัย อ่านออกเสียง สะ-หมุ-ไท
- ลักษณะ อ่านออกเสียง ลัก-สะ-หนะ
- สวาท อ่านออกเสียง สะ-หวาด
- อิสระ อ่านออกเสียง อิด-สะ-หระ
2. ถ้า ห หรือ อ นำ ย ไม่ต้องอ่านออกเสียงนำ เช่น หรู ใหญ่หลวง อย่า อยู่ อย่าง อยาก เป็นแต่ผันคำไปตามอักษรตัวนั้น ถ้า ห นำ เสียงก็สูง ถ้า อ นำเป็นเสียงกลาง
การอ่านออกเสียงคำแผลง
หลักสังเกตในการอ่านออกเสียงคำแผลง1. คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบหรือกล้ำ เมื่อแผลงเป็นสองพยางค์แล้วต้องอ่านออกเสียงพยางค์ท้ายให้เท่ากับเสียงเดิม เช่น
- ตรวจ $\to$ ตำรวจ อ่านออกเสียง ตำ -หรวด
- กราบ $\to$ กำราบ อ่านออกเสียง กำ-หราบ
- ตริ $\to$ ดำริ อ่านออกเสียง ดำ-หริ
- ปราบ $\to$ บำราบ อ่านออกเสียง บำ-หราบ
- เสร็จ $\to$ สำเร็จ อ่านออกเสียง สำ-เหร็ด
- ตรัส $\to$ ดำรัส อ่านออกเสียง ดำ-หรัด
ยกเวัน
- ปราศ $\to$ บำราศ อ่านออกเสียง บำ-ราด
2. คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียว โดยมากเมื่อแผลงเป็นสองพยางค์แล้วมักออกเสียงพยางค์หลังตามรูป คือเขียนอย่างไรก็ออกเสียงนั้น เช่น
- แจก $\to$ จำแนก อ่านออกเสียง จำ-แนก
- อาจ $\to$ อำนาจ อ่านออกเสียง อำ-นาด
ยังมีคำสมาสอีกหลายคำที่ออกเสียงได้ทั้งสองอย่าง ดังนี้
คำ | อ่านออกเสียง | |
---|---|---|
แบบทที่ 1 | แบบที่ 2 | |
เกตุมาลา | เก-ตุ-มา-ลา | เกต-มา-ลา |
ราชบุรี | ราด-ชะ-บุ-รี | ราด-บุ-รี |
อุดมศึกษา | อุ-ดม-มะ-สึก-สา | อุ-ดม-สึก-สา |
โจรกรรม | โจ-ระ-กำ | โจน-ระ-กำ |
ชาติพลี | ชาด-ติ-พะ-ลี | ชาด-พะ-ลี |
จันทรุปราคา | จัน-ทรุ-ปะ-รา-คา | จัน-ทะ-รุ-ปะ-รา-คา |
คุณประโยชน์ | คุน-นะ-ประ-โหยด | คุน-ประ-โหยด |
ปรโลก | ปะ-ระ-โลก- | ปอ-ระ-โลก |
ปกติ | ปะ-กะ-ติ | ปก-กะ-ติ |
ประกาศนียบัตร | ประ-กา-สะ-นี-ยะ-บัด | ประ-กาด-สะ-นี-ยะ-บัด |
ประถมศึกษา | ประ-ถม-มะ-สึก-สา | ประ-ถม-สึก-สา |
ประวัติกาล | ประ-หวัด-ติ-กาน | ประ-หวัด-กาน |
ประวัติศาสตร์ | ประ-หวัด-ติ-สาด | ประ-หวัด-สาด |
ปรากฏการณ์ | ปรา-กด-ตะ-กาน | ปรา-กด-กาน |
ภาชนะ | พา-ชะ-นะ | พาด-ชะ-นะ |
ภูมิลำเนา | พู-มิ-ลำ-เนา | พูม-ลำ-เนา |
มนุษยชาติ | มะ-นุด-สะ-ยะ-ชาด | มะ-นุน-สะ-ชาด |
มนุษยโลก | มะ-นุด-สะ-ยะ-โลก | มะ-นุด-สะ-โลก |
วัยวุฒิ | ไว-ยะ-วุด-ทิ | ไว-ยะ-วุด |
ศัลยกรรม | สัน-ละ-ยะ-กรรม | สัน-ยะ-กำ |
ศัลยแพทย์ | สัน-ละ-ยะ-แพด | สัน-ยะ-แพด |
โศกนาฏกรรม | โส-กะ-นาด-ตะ-กำ | โสก-กะ-นาด-ตะ-กำ |
สรภัญญะ | สะ-ระ-พัน-ยะ | สอ-ระ-พัน-ยะ |
สรรพสัตว์ | สัน-พะ-สัด | สับ-พะ-สัด |
สรรเสริญ | สัน-ระ-เสิน | สัน-เสิน |
- อธิษฐาน อ่านออกเสียง อะ-ทิด-ถาน
คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตบางคำออกเสียงไม่ตรงตามหลักข้างต้น เช่น
- ลัคนา อ่านออกเสียง ลัก-คะ-นา
- อัคนี อ่านออกเสียง ลัก-คะ-นา
- อาตมา อ่านออกเสียง อาด-ตะ-มา
คำนั้นออกเสียงสระ อิ อุ ซึ่งอยู่ท้ายพยางค์หรือไม่
คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งเดิมเป็นคำ 2 พยางค์ขึ้นไป ไม่ต้องออกเสียงสระ เช่น
- เกตุ อ่านออกเสียง เกด
- ชาติ อ่านออกเสียง ชาด
- ญาติ อ่านออกเสียง ยาด
- มาตุ อ่านออกเสียง มาด
- เมรุ อ่านออกเสียง เมน
ข้อสังเกต
การอ่านคำบาลีสันสกฤตตามอักษรวิธีของไทยนั้น เรานำอัขรวิธีของเราเข้าไปปนกับอักขรวิธีของเขา ทำให้อ่านอย่างของเราและของเขาในคำเดียวกัน กการออกเสียงคำทั้งหมดต้องยยึดตามแบบของราชบัญฑิตยสถานเป็นหลักและใช้ให้ตรงกัน
การออกเสียงคำสมาส
คำสมาส คือ คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายต่อเน่ืองกับคำเดิม เช่น ภูมิศาสตร์ สารคดี ประวิติศาสตร์ ราชการ ฯลฯ
การออกเสียงคำสมาสต้องอ่านออกเสียงสระต่อเน่่ืองกันในระหว่างคำ เช่น
- อุทกภัย อ่านออกเสียง อุ-ทก-กะ-ไพ
- แสวกบุตร อ่านออกเสียง เส-วะ-กะ-บุด
-จุลสาร อ่านออกเสียง จุน-ละ-สาน
- ไทยทาน อ่านออกเสียง ไท-ยะ-ทาน
ในภาษาไทยเลยนิยมอ่านต่อเนื่องคำเพื่อความไพเราะอย่างสมาสบ้าง เช่น
- เทพเจ้า อ่านออกเสียง เทบ-พะ-เจ้า
- กรมท่า อ่านออกเสียง กรม-มะ-ท่า
- จุลจอม อ่านออกเสียง จุน-ละ-จอม
- ทุนทรัพย์ อ่านออกเสียง ทุน-นะ-ซับ
*** เนื่อหาความรู้ วิชาภาษาไทยชุดนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่สนใจสอบเข้าเตรียมทหาร หรือนักเรียนนายร้อยตำรวจ วุฒิ ม.4
No comments:
Post a Comment