Pages

Friday, 25 August 2017

ระเบียบการทั่วไปและการสมัครคัดเลือกบุคคลพลเรือน เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารใหนส่วนของกองทัพอากาศ (โรงเรียนนายเรืออากาศ)ประจำปี 2560

ระเบียบการทั่วไป และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกบุคคล
เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ)
ปีการศึกษา 2560

     โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มีภารกิจในการให้การศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหารในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปี ให้มีความรู้ความสามารถในวิชาการทหารเบื้องต้น ปลูกฝังคุณสมบัติการเป็นผู้นำอุปนิสัย อัธยาศัย กำลังใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงตลอดจนเสริมสร้างพลานามัย เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาทุกคน มีพื้นฐานความรู้ คุณสมบัติ และสมรรถภาพร่างกายอันเหมาะสมที่จะเข้ารับการศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อไป

     โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นสถาบันผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักของกองทัพอากาศ ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถด้านวิชาการในระดับอุดมศึกษา ความรู้ความสามารถในวิชาทหาร คุณลักษณะผู้นำทหารและคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ เทิดทูนและยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หลักสูตรการศึกษาเป็นไปตามที่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชกำหนด มีสาขาวิชาให้เลือกศึกษา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาคอมพิวเตอร์ และสาขาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน ตามที่กองทัพอากาศกำหนดในแต่ละปีการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิต ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรให้มียศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรี และกองทัพอากาศจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการในหน่วยงานต่าง ๆของกองทัพอากาศต่อไป

     นักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร จะได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

ขณะเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ
     1. ไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้านการศึกษา อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่พัก ได้รับเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนประจำ
จำนวน 3070 - 5340 บาท ตามชั้นปีและหน้าที่บังคับบัญชา
     2. นักเรียนชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการศึกษาดีมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปศึกษาในสถาบันทหารหรือ
มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ปีละ 9 - 10 ทุน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครือรัฐออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และราชอาณาจักรสเปน
     3. ตามหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กำหนดให้ นักเรียนทุกคนได้ฝึกเดินอากาศและดูงาน ณ ต่างประเทศ รวมทั้งฝึกบินกับเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศ
     4. มีโครงการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างโรงเรียนทหารต่างประเทศ

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
     1. ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรบัณฑิต
     2.ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี รับเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว รวม 15,000 บาท
     3. ผู้ที่จบหลักสูตรด้านการบินจากโรงเรียนการบิน จะได้รับเงินค่าฝ่าอันตรายเดือนละ 13,200
บาท และเงินเพิ่มพิเศษ สำหรับผู้บังคับอากาศยาน เดือนละ 15,000 บาท เพิ่มจากเงินเดือนประจำ
     4. ผู้ที่มีการศึกษาดี มีสิทธิ์สมัครสอบคัดเลือกทุนกองทัพอากาศ เพื่อไปศึกษาในระดับปริญญา
โท และเอก ณ ต่างประเทศ
     1. จำนวนที่รับ
     รับจากบุคคลทั่วไป เพศชาย จำนวน 105 คน
     
     2.คุณสมบัติของผู้สมัคร
     2.1 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า
     2.2 อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 18 ปี ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหารการนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร 
     2.3 มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดา มารดาผู้ให้กำเนิดต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดา
เป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
     2.4 มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรค
ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่ทางราชการกำหนด รายละเอียดตามผนวกท้ายระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) 
     2.5 เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศหรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นที่จะถือว่า
เป็นภรรยา
     2.6 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีอุดมการณ์ เลื่อมใสในระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ
     2.7 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
     2.8 ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ
ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
     2.9 ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกจากโรงเรียนเพราะความผิดหรือถูกถอนทะเบียนจากความเป็น
นักเรียนเตรียมทหาร
     2.10 ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     2.11 บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นผู้มีอาชีพอันชอบธรรมหรือมีหลักฐาน
     2.12 เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว
     2.13 ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ค้ำประกัน ซึ่งสามารถรับรองข้อความและพันธกรณี ตามที่กองบัญชาการ
กองทัพไทยกำหนด
     2.14 ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
หมายเหตุ คุณสมบัติและลักษณะดังกล่าวในข้อ 2.1-2.14 นี้หากปรากฏว่าเป็นความเท็จขึ้นภายหลังจากที่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว จะต้องพ้นจากการเป็นนักเรียนเตรียมทหารทันที
     3. วิธีการสมัครและค่าธรรมเนียมในการสอบ
     3.1 สมัครสอบได้ทางเว็บไซต์ http://admission.nkrafa.ac.th หรือ http://www.nkrafa.ac.th
ไม่เว้นวันหยุดราชการ ยกเว้นวันสุดท้ายที่เปิดรับสมัคร รับสมัครถึงเวลา 16:00 น.
     3.2 ค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ จำนวน 350 บาท (สามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) การชำระค่าธรรมเนียม
ในการสมัครสอบ ดำเนินการโดยนำแบบฟอร์มการชำระเงิน พร้อมค่าสมัครสอบจำนวน ๓๕๐ บาท ไปชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั้งนี้การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อ ผู้สมัครสอบได้ชำระค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบแล้วเท่านั้น และจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้สมัครสอบที่ชำระเงินแล้วสามารถตรวจสอบรายชื่อ สถานที่สอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ ได้ที่เว็บไซต์ http://admission.rtafa.ac.th หรือ http://www.nkrafa.ac.th ตามวันและเวลาที่จะประกาศให้ทราบ
     3.3 ค่าตรวจร่างกาย ตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด และในกรณีที่แพทย์ต้องตรวจพิเศษนอกเหนือจากการตรวจปกติ ผู้รับการตรวจจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
     3.4 ค่าพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ มีอัตราค่าธรรมเนียม รายละ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)

     4. การยื่นหลักฐานการสมัครสอบและคะแนนเพิ่มพิเศษ
     4.1 ผู้สมัครสอบที่สอบผ่านภาควิชาการจะต้องยื่นหลักฐานให้แก่เจ้าหน้าที่ของ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในวันที่ประกาศผลสอบและรายงานตัว ดังนี้
          4.1.1 สำเนาเอกสารแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่าหรือใบรับรอง
ผลการศึกษา (ปพ.7) ที่แสดงว่ากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4(ตัวอย่างตามผนวก ข) จำนวน 1 ฉบับ
          4.1.2 สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร บิดาและมารดาผู้ให้กำเนิด คนละ 1 ฉบับ หากผู้สมัครมีบิดา มารดา ที่มีชื่อหรือนามสกุลในหลักฐานต่าง ๆ ไม่ตรงกัน ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน (โดยแก้ไขที่อำเภอ/เขต)พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการแก้ไขมาแสดงด้วย
          4.1.3 เอกสารการเปลี่ยน ชื่อ – สกุล ของผู้สมัครและบิดา มารดา (ถ้ามี)
          4.1.4 กรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม และไม่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน ให้นำหลักฐาน
ใบมรณบัตรและหนังสือที่ทางราชการออกให้ เพื่อแสดงสัญชาติของบิดา มารดา
          4.1.5 กรณีที่ ปู่ - ย่า หรือ ตา - ยาย ของผู้สมัครไม่มีสัญชาติไทย ให้นำหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้มาแสดง
               4.1.5.1 สูติบัตรของบิดาหรือมารดาของผู้สมัคร
               4.1.5.2 หนังสือรับรองที่ออกโดยนายทะเบียนท้องที่ของสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่ตนมีชี่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้นรับรองว่าบิดา หรือมารดาของผู้สมัครมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
          4.1.6 หลักฐานการได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ
หมายเหตุ สำเนาเอกสารทุกฉบับให้รับรองสำเนาถูกต้องมาให้เรียบร้อยและลงวันที่กำกับด้วย
     4.2 ผู้สมัครสอบที่มีสิทธิ์ได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ
          4.2.1 ผู้ที่สอบวิชาการ ได้ตามหลักสูตรการศึกษาวิชาทหารของกระทรวงกลาโหมชั้นปีที่ 1
เพิ่มให้ร้อยละ 3 ของคะแนนเต็ม
          4.2.2 บุตรของข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีเวลา
รับราชการดังต่อไปนี้ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษตามลำดับ ดังนี้
               4.2.2.1 รับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาเพิ่มให้ร้อยละ 4 ของคะแนนเต็ม
               4.2.2.2 รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี เพิ่มให้ ร้อยละ 3 ของคะแนนเต็ม
               4.2.2.3 รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี เพิ่มให้ ร้อยละ 2 ของคะแนนเต็ม
การนับเวลารับราชการดังกล่าว ให้นับตั้งแต่วันเข้ารับราชการ ถึงวันสุดท้ายของวันรับสมัคร
ในปีนั้น ๆ
          4.2.3 ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร-ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการหรือ
ลูกจ้าง ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหาร ระหว่างที่มีการรบหรือการสงครามหรือมีการปราบจลาจลหรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ า หรือปฏิบัติหน้าที่สำรวจจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีสิทธินับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนเต็ม
          พลเรือน หรือ ผู้ที่เป็นบุตรของพลเรือนซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอก และภายในประเทศ เพิ่มให้ร้อยละ
5 ของคะแนนเต็ม
          4.2.4 ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร - ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการหรือ
ลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบภัยอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ปกติ หรือถูกประทุษร้าย เพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง เพิ่มให้ร้อยละ 6 ของคะแนนเต็ม
          ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร - ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการหรือลูกจ้าง ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ทางยุทธการหรือถูกประทุษร้ายเพราะกระทำการตามหน้าที่ ตามข้อ 4.2.3 หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง หรือบุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีหรือเหรียญหรือเข็มกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
          4.2.5 บุตรของทหาร -ตำรวจ ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพ
หรือถึงแก่ชีวิต หรือผู้ที่ได้ช่วยเหลือราชการในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพหรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
          การเพิ่มคะแนนพิเศษ ตามข้อ 4.2.1, 4.2.2 และ 4.2.3 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษหลังจากสอบผ่านภาควิชาการการเพิ่มคะแนนพิเศษ ตามข้อ 4.2.4 และ 4.2.5 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษในการสอบทุกรอบ โดยส่งเอกสารทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน มาที่ หัวหน้ากองกำลังพล กองบัญชาการ โรงเรียนนายเรือ
อากาศนวมินทกษัตริยาธิราช 171/1 ถ.พหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพ ฯ 10220
(คะแนนเพิ่มพิเศษ นตท.(ทอ.)) ภายในวันที่ 28 ก.พ.60 (โดยถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ) หากเกินกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ในการขอรับคะแนนเพิ่มพิเศษการเพิ่มคะแนนพิเศษ ตามข้อ 4.2.1, 4.2.2, 4.2.3, 4.2.4 และ 4.2.5 ให้เพิ่มเฉพาะกรณีที่ได้คะแนนมากที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว (รายละเอียดตามผนวก ค) ผู้สมัครกรอกข้อความในแบบขอรับสิทธิ์คะแนนเพิ่มพิเศษพร้อมเอกสารที่ขอใช้สิทธิ์คะแนนเพิ่มพิเศษ โดยผู้สมัครหรือผู้ปกครองต้องลงนามรับรองสำเนาเอกสารหลักฐาน ยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่รับสมัครโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชในวันที่ประกาศผลสอบและรายงานตัว
     
     ๕. การตรวจสอบสถานที่สอบ
     ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานที่สอบ อาคารและห้องสอบได้ทางเว็บไซต์http://admission.nkrafa.ac.th หรือ http://www.nkrafa.ac.th ตั้งแต่วันที่ ๑ มี.ค.๖๐ เป็นต้นไป

     6. การสอบคัดเลือก
    
    6.1 การสอบภาควิชาการ (คะแนนรวม 700 คะแนน)
     6.1.1 ปัญหาสอบ ฯ ครอบคลุมความรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็นสองชุดวิชา ดังนี้
          6.1.1.1 ชุดวิชาที่ 1 ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบด้วย
          6.1.1.1 (1) วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 160 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และมีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ ฯ ดังนี้
          -  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4: Grammar, Vocabulary, Expression, Conversation และ Reading Comprehension
          6.1.1.1 (2) วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 100 คะแนนโดยมีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ ฯ ดังนี้
          - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4: สาระที่ 1 การอ่าน, สาระที่ 2 การเขียน, สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด,สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย และสาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
          - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม, หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์; และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม, เศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์; รวมทั้งความรู้รอบตัว ข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน
          6.1.1.2 ชุดวิชาที่ 2 ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบด้วย
          6.1.1.2 (1) วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน โดยมีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ ฯ ดังนี้
          - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 :โครงสร้างของโลก, โลกและการเปลี่ยนแปลง, ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา, ธรณีประวัติ, เอกภพ, ดาวฤกษ์ระบบสุริยะ, เทคโนโลยีอวกาศ, การเคลื่อนที่, สนามของแรง, คลื่น, กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, งานและพลังงาน, โมเมนตั้มและการชน, การเคลื่อนที่แบบหมุน, สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น, อะตอมและตารางธาตุ, พันธะเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ,ปริมาณสัมพันธ์และของแข็ง ของเหลว แก๊ส
          6.1.1.2 (2) วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และมีขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ ฯ ดังนี้
          - กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 :พื้นที่ผิวและปริมาตร, กราฟ, ระบบสมการเชิงเส้น, ความคล้าย, กรณฑ์ที่สอง, การแยกตัวประกอบของพหุนาม,สมการกำลังสอง,พาราโบลา, อสมการ, ความน่าจะเป็น, สถิติ, ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผล
เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม, ระบบสมการ, วงกลม, และเศษส่วนของพหุนาม และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 : เซต, การให้เหตุผล, จำนวนจริง, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, ระบบจำนวนจริง,ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น, เลขยกกำลัง, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, ความน่าจะเป็น, ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์,ฟังก์ชัน, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย
     6.1.2 การปฏิบัติในการสอบภาควิชาการ
          6.1.2.1 แต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดเครื่องแบบสถาบัน
          6.1.2.2 หลักฐานที่ต้องนำมาในวันสอบภาควิชาการ
          6.1.2.2 (1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือใบอนุญาตขับขี่ โดยบัตรดังกล่าวนั้นต้องไม่หมดอายุ และจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ชัดเจน ทั้งรูปถ่ายและตัวอักษร
          6.1.2.2 (2) บัตรประจำตัวสอบที่ปรากฏรูปถ่ายของผู้สมัครสอบ ระบุเลขลำดับสมัคร รหัสประจำตัวสอบ ชื่อ ชื่อสกุล วัน เดือน ปีเกิด เลขประจำตัวประชาชนและลงลายมือชื่อ จึงจะถือว่าสมบูรณ์
          6.1.2.3 อุปกรณ์ที่อนุญาตให้ผู้สมัครสอบนำเข้าห้องสอบ ได้แก่ ดินสอดำชนิด 2B ขึ้นไป สำหรับระบายกระดาษคำตอบ ยางลบดินสอ และผู้สมัครสอบต้องนำบัตรตามข้อ 6.1.2.2 มาในวันสอบภาควิชาการ หากไม่นำบัตรทั้ง 2 มาแสดง จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ
          6.1.2.4 การขาดสอบภาควิชาการในชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง จะถือว่าผู้สมัครสละสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
          6.1.2.5 การออกจากห้องสอบ สามารถออกได้เมื่อหมดเวลาสอบแล้วเท่านั้น
          6.1.2.6 ผู้สมัครสอบต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของกรรมการคุมสอบโดยเคร่งครัด
     6.1.3 เกณฑ์การพิจารณาการสอบภาควิชาการจัดเรียงลำดับตามคะแนนรวมภาควิชาการจากมากไปหาน้อย ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้เปรียบเทียบคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาตามลำดับ






     
     6.2 การสอบรอบสอง (คะแนนรวม 300 คะแนน)
ผู้เข้าสอบรอบสอง คือผู้ที่มีรายชื่อสอบผ่านภาควิชาการและรายงานตัวเข้าสอบรอบสองไว้แล้วเท่านั้น โดยต้องเข้ารับการสอบทุกรายการดังต่อไปนี้
     6.2.1 การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
          6.2.1.1 การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย (เวลา 1300 - 1700 น.)
          6.2.1.2 การทดสอบความถนัด เป็นการทดสอบสมรรถภาพหรือศักยภาพพื้นฐานทางสมองของบุคคลที่มีอยู่ ซึ่งได้รับการสร้างสมมาจากประสบการณ์และการฝึกตนเองเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นทักษะ
ที่พร้อมจะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างเข้ารับการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          6.2.13 การทดสอบวิภาววิสัย เป็นการทดสอบสภาวะทางนามธรรมของบุคคลทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ทัศนคติ ความสนใจ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ฯลฯ
          6.2.1.4 การปฏิบัติในการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย
          6.2.1.4 (1) แต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดเครื่องแบบสถาบัน พร้อมนำบัตรประจำตัวสอบมาด้วย
          6.2.1.4 ( 2) ใช้ดินสอดำชนิด 2B ขึ้นไป และไม่อนุญาตให้นำกระดาษทดกระดาษร่าง หรืออุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ
     6.2.2 การสอบพลศึกษา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
          6.2.2.1 ผู้เข้าสอบรอบสองต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จำนวน 8
สถานี โดยต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก โดยแบ่งเวลาการสอบเป็น 2 ช่วงดังนี้ ภาคเช้าตั้งแต่เวลา 0830 - 1200 น. จะทำการสอบสถานีที่ 1-7 และภาคบ่ายตั้งแต่เวลา 1300 - 1600 น. จะทำการสอบสถานีที่ 8
          สถานีที่ 1 นั่งงอตัว อุปกรณ์การสอบ มีกล่องไม้สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร ติดไม้วัดยาว 60 เซนติเมตรด้านบนของกล่องในแนวนอน ให้ผู้เข้าสอบนั่งเหยียดขาตรง เท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิด
กัน ฝ่าเท้าจรดแกนกลางของที่ตั้งเครื่องวัด แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงขนานกับพื้น ฝ่ามือวางอยู่บนเครื่องวัดพร้อมแล้วให้ก้มตัวเลื่อนฝ่ามือไปข้างหน้าตามแนวเครื่องวัด จนไม่สามารถก้มตัวเลื่อนฝ่ามือปลายนิ้วมือต่อไปได้เข่าเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ
          สถานีที่ 2 ยืนกระโดดไกล ให้ผู้เข้าสอบยืนบนจุดที่กำหนดบนเครื่องวัด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น เริ่มเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังพร้อมกับย่อตัวลงหาจังหวะ เมื่อได้จังหวะแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้ง
สองข้างไปข้างหน้า พร้อมกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด
          สถานีที่ 3 ลุกนั่ง 30 วินาที ให้ผู้เข้าสอบนอนหงายบนเบาะ ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย กางศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับเบาะ เข่าทั้งสองงอตั้งเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ผู้ช่วยคุกเข่าอยู่ปลายเท้าของผู้ทดสอบ โดยใช้มือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้เข้าสอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้นเมื่อพร้อมแล้วกรรมการให้สัญญาณเสียงนกหวีด ผู้เข้าสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขนทั้งสองช่วงศอกด้านในสัมผัสกับเข่าด้านนอกแล้วกลับนอนลงสู่ท่าเดิม ศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับเบาะ ท าเช่นนี้ติดต่อกันภายใน 30 วินาที ขณะปฏิบัติฝ่ามือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอียงตัวไปมา
          สถานีที่ 4 วิ่งเก็บของ เป็นการวิ่งบนทางเรียบระยะทาง 10 เมตร เส้นเริ่มต้นและเส้นปลายทางมีวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ที่วงกลมปลายทางมีไม้ 20 ท่อน (ขนาด 5 x 0.5 x 10 ซม.)
วางตรงจุดกำหนดกลางวงกลมปลายทาง ผู้เข้ารับการทดสอบวางเท้าข้างหนึ่งข้างใดอยู่ภายในวงกลมเริ่มต้นเมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ผู้เข้ารับการสอบวิ่งจากวงกลมเริ่มต้นไปยังวงกลมปลายทางหยิบไม้ท่อนที่ 1วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมเริ่มต้น ต้องวางไม้ให้อยู่ในวงกลม ห้ามโยนท่อนไม้เข้าวงกลม แล้ววิ่งกลับไปเก็บไม้ท่อนที่ 2 วิ่งกลับมาผ่านวงกลมเริ่มต้น (โดยไม่ต้องวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ในวงกลมเริ่มต้น)
          สถานีที่ 5 วิ่งระยะทาง 50 เมตร ผู้เข้าสอบเตรียมพร้อมที่เส้นปล่อยตัวเมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ออกวิ่งไปยังเส้นชัย โดยต้องวิ่งในช่องวิ่งของตนเองตามที่กำหนดไว้จนถึงเส้นชัย
          สถานีที่ 6 ดึงข้อ ท่าเตรียม ให้ผู้เข้าสอบจับราวเดี่ยวด้วยมือทั้ง 2 ข้างแบบคว่ำมือพร้อมห้อยตัวลงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรง พร้อมแล้วให้ผู้เข้าสอบงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราวทำติดต่อกันไปให้มากครั้งที่สุด ห้ามแกว่งตัวหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3-4 วินาที
          สถานีที่ 7 วิ่งระยะ 1000 เมตร ผู้เข้าสอบเตรียมพร้อมที่เส้นปล่อยตัว เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ออกวิ่งไปยังเส้นชัยตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้
          สถานีที่ 8 ว่ายน้ำ 50 เมตร ให้ผู้เข้าสอบพร้อมที่จุดปล่อยตัวขอบสระด้านเริ่มต้นเมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดปล่อยตัว ให้ออกตัวว่ายน้ำไปยังเส้นชัย
               6.2.2.2 การปฏิบัติในการสอบพลศึกษา
               6.2.2.2 (1) ผู้เข้ารับการสอบเตรียมชุดพลศึกษา เสื้อกีฬาสีขาว กางเกงกีฬาขาสั้น รองเท้าผ้าใบ พร้อมน าบัตรประจ าตัวสอบมาด้วย
               6.2.2.2 (2) เตรียมกางเกงว่ายน้ำและอุปกรณ์ (เช่น หมวก แว่นตา)สำหรับการสอบว่ายน้ า (ห้ามใช้กางเกงชั้นในแทนกางเกงว่ายน้ำ)
     6.2.3 การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
          6.2.3.1 การสอบสัมภาษณ์เป็นการพิจารณาลักษณะ รูปร่าง ท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไว ปฏิภาณไหวพริบ และสภาพจิตใจ ตลอดจนคุณสมบัติความเหมาะสมที่จะเป็น
นายทหารสัญญาบัตร
          6.2.3.2 การปฏิบัติในการสอบสัมภาษณ์ ผู้เข้ารับการสอบแต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดเครื่องแบบสถาบัน พร้อมนำบัตรประจำตัวสอบมาด้วย
     6.2.4 การตรวจร่างกายและทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคล (ผลการตรวจ ผ่าน/ ไม่ผ่าน)
          6.2.4.1 การตรวจร่างกาย
          6.2.4.1 (1) ผู้เข้าสอบรอบสองรายงานตัวที่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เวลา 0700 น. เพื่อเดินทางไปตรวจร่างกายที่สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศโดยรถยนต์โดยสารของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (ผู้ปกครองหรือญาติ รอรับที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ หลังจากตรวจร่างกายและทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคลเสร็จแล้ว)
          6.2.4.1 (2) การตรวจร่างกายเป็นการพิจารณา รูปร่าง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายสมส่วนกับอายุ สุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการบรรจุเข้ารับราชการตามการกำหนดลักษณะความสมบูรณ์ของร่างกายและโรคที่ขัดต่อการเข้ารับศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) (ตามผนวก ก)
          6.2.4.1 (3) ผลการตรวจร่างกาย คือความเห็นของคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายทางแพทย์ที่กองทัพอากาศแต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจร่างกายของผู้เข้ารับการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ถือเป็นเด็ดขาด ไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้เข้าสอบรอบสองไปตรวจร่างกายจากสถานพยาบาลอื่น ๆ
          6.2.4.1 (4) ชำระค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 880 บาท ในวันตรวจร่างกาย กรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษหรือเพิ่มเติม ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
          6.2.4.2 การทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคล (รายละเอียดตามผนวก ง)
          6.2.4.3 การปฏิบัติในการตรวจร่างกายและทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคล
          6.2.4.3 (1) ช่วงเช้าของวันตรวจร่างกายให้รับประทานอาหารตามปกติ(งดหวานจัด)
          6.2.4.3 (2) ก่อนการตรวจร่างกาย งดรับประทานยากระตุ้นก าลัง ยาลดน้ำหนัก หรือยาแก้ไอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ และหลอดเลือดได้
          6.2.4.3 (3) ห้ามใส่ Contact - lens มาตรวจสายตา และห้ามใช้ Contact –lensชนิดกดกระจกตาเพื่อปรับสายตาก่อนมาตรวจ
          6.2.4.3 (4) แต่งกายชุดนักเรียนหรือเครื่องแบบสถาบัน พร้อมนำบัตรประจำตัวสอบมาด้วย
          6.2.4.3 (5) ดินสอด าชนิด 2B ขึ้นไป

     7. การประกาศผลการสอบคัดเลือก (วัน เวลา สถานที่ ตามกำหนดการ ฯ)
     7.1 การประกาศผลการสอบภาควิชาการและรายงานตัว
     7.1.1 ประกาศผลการสอบภาควิชาการทาง Internet และระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ดังนี้
          7.1.1.1 เว็บไซต์สมัครสอบ นตท.(ในส่วนของ ทอ.) (http://admission.nkrafa.ac.th)
          7.1.1.2 เว็บไซต์โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (http://www.nkrafa.ac.th)
          7.1.1.3 ระบบข้อความตอบรับทางโทรศัพท์(SMS) พิมพ์ AIR เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลข
ประจ าตัวสอบ ส่ง SMS มายังหมายเลข 4847821 (ค่าบริการครั้งละ 6 บาททั่วประเทศ)
     7.1.2 ประกาศผลสอบภาควิชาการเป็นทางการและรายงานตัว
     7.1.3 ผู้สมัครที่มีรายชื่อในประกาศผลสอบภาควิชาการตามข้อ 7.1.2 ต้องมารายงานตัวตั้งแต่เวลา 0800-1000 น.
     7.2 การประกาศผลการสอบรอบสองและรายงานตัว
     7.2.1 ประกาศผลการสอบรอบสองไม่เป็นทางการ เหมือนข้อ 7.1.1
     7.2.2 ประกาศผลสอบรอบสองเป็นทางการและรายงานตัว (วันและเวลา ตามกำหนดการ)
          7.2.2.1 ติดประกาศผลสอบรอบสองเป็นทางการ บริเวณ อาคารรณนภากาศโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ตั้งแต่เวลา 0700  น.
          7.2.2.2 ผู้เข้ารับการสอบที่มีชื่อเป็นบุคคลตัวจริงและสำรอง พร้อมรายงานตัวด้วยตนเองต่อหน้าเจ้าหน้าที่รับรายงานตัวของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ตั้งแต่เวลา 0800 น.เพื่อรักษาสิทธิ์
          7.2.2.3  รับเอกสารและรับฟังคำชี้แจงจากโรงเรียนเตรียมทหาร เพื่อรับทราบสิทธิ์และข้อปฏิบัติของบุคคลตัวจริงและสำรองหมายเหตุ ผู้เข้าสอบรอบสองที่มีชื่อในประกาศผลสอบรอบสองมากกว่า1 โรงเรียน ต้องเลือกรายงานตัวรักษาสิทธิ์เป็นบุคคลตัวจริงหรือสำรอง เพียงโรงเรียนเดียวเท่านั้น

     8. การหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
     8.1 เข้าห้องสอบภาควิชาการหรือการสอบรอบสองช้ากว่าเวลาที่เริ่มต้นสอบหรือทดสอบเกิน 20 นาทีจะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ หรือทดสอบถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบ
     8.2 ขาดสอบภาควิชาการชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง
     8.3 ขาดการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย หรือขาดการสอบพลศึกษา หรือขาดการสอบสัมภาษณ์
หรือขาดการตรวจร่างกาย และทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคลรายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการ
     8.4 ทุจริตในการสอบ หรือช่วยเหลือการทุจริตการสอบ
     8.4.1 พูดหรือติดต่อสื่อสารในลักษณะต่าง ๆ กับผู้สมัครสอบคนอื่น
     8.4.2 ลุกจากที่นั่ง ชะโงกหน้า เหลียวมองกระดาษค าตอบของผู้สมัครสอบคนอื่น
     8.4.3 วางกระดาษคำตอบในลักษณะเกื้อกูลกับผู้สมัครสอบข้างเคียง
     8.4.4 ลักลอบนำเอกสารหรืออุปกรณ์ต้องห้าม ได้แก่ กระดาษทด กระดาษร่าง ตำรำ เครื่องคำนวณเลข เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เครื่องประดับ นาฬิกาข้อมือ สร้อยคอ
แหวน ตุ้มหู อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะทุกชนิด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่กรรมการคุมสอบพิจารณาไม่อนุญาตให้นำเข้า
     8.4.5 เขียนข้อความใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบไว้ตามร่างกาย บนชุดที่สวมใส่หรือบนอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วนำเข้าห้องสอบ
     8.4.6 ลอกคำตอบจากผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นลอกคำตอบ ทั้งนี้ไม่ว่าจะถูกตรวจพบในระหว่างการสอบ หรือภายหลังการสอบเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม
     8.4.7 ทำข้อสอบให้ผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นทำข้อสอบให้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะถูกตรวจพบในระหว่างการสอบ หรือภายหลังการสอบเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม
     8.4.8 แลกกระดาษคำตอบกับผู้อื่น
     8.4.9 ปัญหาสอบเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ห้ามผู้สมัครสอบคัดลอกหรือนำออกนอกห้องสอบเป็นอันขาด ต้องส่งคืนให้ครบทุกหน้าและทุกแผ่น ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมาย และถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
     8.4.10 กรณีที่ผู้สมัครสอบได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องสอบชั่วคราว เพื่อทำกิจจาเป็นส่วนตัว จะต้องไม่ทำการใด ๆ เกี่ยวข้องกับการสอบที่กำลังดำเนินอยู่เป็นอันขาด หากฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นการกระทำการทุจริตในการสอบ
     8.4.11 หากอุปกรณ์การสอบของผู้สมัครสอบ ตก หรือปลิวไปจากโต๊ะสอบ ให้ผู้สมัครสอบที่เป็นเจ้าของ ขออนุญาตเก็บ กรรมการคุมสอบจะต้องเป็นผู้เก็บให้ ห้ามผู้สมัครสอบคนอื่นเก็บโดยเด็ดขาด การฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำการทุจริตในการสอบ
     8.4.12 พฤติกรรมอื่น ๆ ที่กรรมการคุมสอบพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทุจริตในการสอบ
     8.5 ไม่มีหลักฐานข้อ 6.1.2.2 มาแสดงในวันสอบภาควิชาการ
     8.6 ตรวจพบการปลอมแปลงเอกสารหลักฐานทุกชนิด
     8.7 เป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2

     9 การทำสัญญามอบตัวเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ)
ดูรายละเอียดได้ที่ www.afaps.ac.th

     10. การขอตรวจสอบคะแนนรายบุคคล
ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบคะแนนภาควิชาการรายบุคคลได้ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. – 31 ก.ค.60
ทางหน้าเว็บไซต์การรับสมัครhttp://admission.nkrafa.ac.th

     11 การเก็บรักษา และ/หรือ ทำลายเอกสารที่สำคัญ
     11.1 แม่พิมพ์ข้อสอบ ดำเนินการทำลายทันที
     11.2 ข้อสอบภาควิชาการดำเนินการเก็บไว้เป็นหลักฐาน 5 ชุด ไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่เหลือทำลายทันที
     11.3 ใบบันทึกคะแนน ดำเนินการเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
     11.4 กระดาษคำตอบ ดำเนินการเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
     11.5 ผลการตรวจร่างกายทางการแพทย์และผลการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย ดำเนินการเก็บผลดังกล่าวของผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารและเข้าศึกษาในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช แล้วจึงทำลายส่วนผลของผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกฯ เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

     12. ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัครและการสอบคัดเลือก ได้ที่ กองสถิติและประเมินผล
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โทรศัพท์ 025343624-7  (ในวันและเวลาราชการ)
     13. คำเตือน
     13.1 การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ดำเนินการโดย
คณะกรรมการระดับสูงของกองทัพอากาศ ไม่มีผู้ใดสามารถช่วยเหลือท่านได้นอกจากใช้ความรู้ ความสามารถของท่านเอง หากพบผู้ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างว่าสามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารได้กรุณาจดบันทึก ยศ ชื่อ นามสกุล ของผู้แอบอ้างและแจ้งมาที่ กองยุทธการและการข่าว กองบัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โทร 025340524 
     13.2 อ่านระเบียบการทั่วไป วิธีการสมัครสอบให้เข้าใจและปฏิบัติตามวิธีการต่าง ๆ ตามที่ระบุ
ไว้ให้ถูกต้อง
     13.3 เตรียมเอกสารหลักฐานที่จะใช้ในการสมัครสอบให้ครบถ้วน ถูกต้อง
     13.4 กรณีบัตรประจ าตัวประชาชนหรือใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งเป็นบัตรที่ผู้สมัครสอบเตรียมมาเป็น
หลักฐานการเข้าห้องสอบได้สูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ทำให้ไม่มีบัตรตามที่กำหนดมาแสดงคู่กับบัตรประจำตัวสอบให้รีบดำเนินการแจ้งหายที่สถานีตำรวจ และนำหลักฐานมาแสดงต่อกรรมการคุมสอบในห้องสอบ
     13.5 ผู้สมัครสอบจะต้องติดตามประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครสอบคัดเลือก ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชอยู่เสมอ จะอ้างว่าไม่ทราบประกาศในภายหลังไม่ได้
     13.6 ระเบียบการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามคำสั่ง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยโรงเรียน
นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช จะประกาศให้ทราบต่อไป
     13.7 ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบการประกาศผลสอบของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
ทุกรอบด้วยตนเอง หากเห็นว่าประกาศผลสอบรอบใด ทำให้ผู้สมัครสอบเสียสิทธิ์ประการใดประการหนึ่ง ผู้สมัครสอบต้องอุทธรณ์ประกาศนั้น โดยยื่นต่อผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ภายใน 15 วันนับแต่วันประกาศ โดยการอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอ้างอิงประกอบด้วย
ขอบคุณข้อมูลจากโรงเรียนนายเรืออากาศนะครับ 

ข้อมูลเพิ่มเติม โรงเรียนนายเรืออากาศ

No comments:

Post a Comment